การพัฒนาระบบเฝ้าระวังในชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พรธิดา ศรีบุญเรือง
  • กระจ่าง ตลับนิล
  • วัลลภา ศรีบุญพิมพ์สวย

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง, การป้องกันควบคุมโรค, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีแนวทางที่หลากหลาย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตำบลปะโค
อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่สอดคล้องกับพื้นที่และประชาชนมีส่วนร่วม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะเตรียมการและระยะการดำเนินการวิจัย โดยประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม
(Appreciation Influence Control: A–I-C) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ประชากรในการวิจัยมี 3 กลุ่มดังนี้ องค์กรภาครัฐ องค์กรชุมชน และตัวแทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านโพธิ์
หมู่ที่ 3 ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 50 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและการ
วัดความรู้ การมีส่วนร่วม และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานเฝ้าระวังในชุมชน วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานและเปรียบเทียบการดำเนินการ
ก่อนและหลังการวิจัยด้วยสถิติ paired t - test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัย จากการสำรวจประชาชน 50 คน พบว่า มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก่อนการ
พัฒนาเท่ากับ 52 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=2.01) และหลังการพัฒนามีความรู้เท่ากับ 84 คะแนน
(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.94) มีความแตกต่างเท่ากับ 32 คะแนน (95%CI: 22.1-3.27) ซึ่งแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value<0.001) ส่งผลให้ประชาชนมีความรู้เพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการพัฒนา ร้อย
ละ 82 ซึ่งอยู่ในระดับสูงทุกราย ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดโรคไข้เลือดออก พบว่า
ประชาชนมีระดับความคิดเห็นที่ถูกต้องก่อนการพัฒนาเท่ากับ 90 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=1.91)
และหลังการพัฒนาแล้วมีระดับความคิดเห็นที่ถูกต้องมีคะแนนเท่ากับ 98 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=
0.14) มีความแตกต่างเท่ากับ 8 คะแนน (95%CI: 4.28-4.95) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p–value<0.05) และด้านการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังในชุมชนก่อนการพัฒนาเท่ากับ 96 คะแนน (ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน=1.42) และหลังการพัฒนาเท่ากับ 94 คะแนน มีความแตกต่างเท่ากับ 2 คะแนน
(95%CI:7.43-8.20) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value<0.05) และผลการสำรวจแหล่ง
เพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนาเฝ้าระวัง
ประกอบด้วยค่าดัชนีภาชนะ (CI) และดัชนีครัวเรือน (HI) ลดลง และมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กร
อนามัยโลกกำหนดไว้และไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและควบคุมโรค
ไข้เลือดออกในชุมชน บ้านโพธิ์หมู่ 3 ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี คือ การมีความตระหนักใน
ปัญหาของโรคไข้เลือดออก และการให้ความร่วมมือของคนในชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค
ไข้เลือดออกอย่างจริงจัง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ