ผลของการใช้ตัวแบบเพื่อเพิ่มการรับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ไม่พร้อมในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การใช้ตัวแบบ, การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน, การรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) เพื่อศึกษาผลของการใช้ตัว
แบบเพื่อเพิ่มการรับรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี การใช้ตัวแบบการวิจัยประกอบด้วยสร้าง
สัมพันธภาพ, ค้นหาสภาพปัญหาโดยการใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม, การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ
สะท้อนปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้อง, การตอบคำถาม, การบรรยายให้ความรู้เลือกแนวทาง วิธีการ ปฏิบัติที่
ถูกต้องและเหมาะสม, การติดตาม และการประเมินผล รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ เลือกพื้นที่ดำเนินการโดยใช้
วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิง
ปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติ Independent t-test,
Paired t-test และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 95%
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้พฤติกรรม
การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านครอบครัว ด้าน
เศรษฐกิจและสังคม มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value<0.05)
โดยสรุป การใช้ตัวแบบหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 15–19 ปี ซึ่งมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
ในวัยเรียน โดยการจัดเวทีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับผลเสียที่มีต่อวัยรุ่นในด้านร่างกาย จิตใจ
ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การประยุกต์ใช้ตัวแบบในโปรแกรมสุขศึกษาสามารถเพิ่ม
การรับรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในเรื่อง การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียนได้