ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาเกิดจากผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

ผู้แต่ง

  • วนิดา บุญยอแสง
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, การรักษาล่าช้าจากผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อ
หาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาวัณโรคที่เกิดจากผู้ป่วย (Patient delays)
เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และคัดลอกข้อมูลของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ใน
โรงพยาบาลของแขวงจำปาสักจำนวน 7 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.
2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์
หาความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว (Simple logistic regression) และตัวแปรหลายตัวด้วยสถิติถดถอย
พหุลอจิสติก (Multiple logistic regression) แสดงผลความเสี่ยงสัมพันธ์ด้วย Adjusted OR (ORadj) ที่
ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% Cl)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ทั้งหมด 256 คน มีความชุกของ Patient delays
>30 วัน พบร้อยละ 20.7 (95%CI: 15.7-25.7), ค่ามัธยฐาน =20 วัน, ค่าควอไทด์ที 1=15 ควอไทด์ที่ 3=30
ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ Patient delays อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ของผู้ป่วย ≤600,000 กีบต่อเดือน (ORadj=2.47, 95%CI: 1.02-5.94;
p-value=0.043) การไม่ได้รับคำแนะนำในการมาตรวจรักษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ORadj=2.98,
95%CI: 1.32-6.75; p-value=0.009)
สรุปจากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าเกิดจากตัวผู้ป่วยจากปัจจัย
ด้านบุคคลและด้านสังคม ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมเรื่องความรู้และการรับการตรวจรักษาเกี่ยวกับวัณโรค
สนับสนุนการค้นหาผู้ป่วย เชิงรุกโดยตรวจคัดกรองคนในชุมชนเขตเทศบาล ทั้งนี้เพื่อให้การรักษาที่รวดเร็ว
และลดการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07