ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียในอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ยุทธศิลป์ คุ้มบ้านชาติ
  • ชนัญญา จิระพรกุล
  • เนาวรัตน์ ตั้งศรีทอง

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, มาลาเรีย, สกลนคร

บทคัดย่อ

โรคมาลาเรียเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกโดยเฉพาะพื้นที่ในแถบศูนย์สูตร ในประเทศ
ไทยพบการระบาดในพื้นที่ป่าเขาและเขตชายแดน จังหวัดสกลนครเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ยังมีการระบาดของโรค
โดยมีอัตราป่วย 3 ปี ย้อนหลังสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งไว้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา
เชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Analytical Case–Control Study) เพื่อใช้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการ
ติดเชื้อมาลาเรียในอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ในเขตพื้นที่หน่วยบริการสาธารณสุขในอำเภอภูพาน จังหวัด
สกลนคร กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคมาลาเรียที่ได้รับการรายงานจากกลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร จำนวน 68 คน และกลุ่มควบคุมคือประชาชนทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อมาลาเรียในพื้นที่
อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 136 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
พรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการติดเชื้อมาลาเรียด้วยการวิเคราะห์ multiple
logistic regression
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อมาลาเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)
คือ เพศ อายุ อาชีพ โดยเพศชายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียมากกว่าเพศหญิง มากถึง 2.91 เท่า (ค่า
95% CI มีค่าเท่ากับ 1.37-6.19) ผู้ที่มีอายุ 45 ปี มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียมากกว่าผู้ที่มีอายุ 46
ปีขึ้นไปมากถึง 3.63 เท่า (ค่า 95% CI มีค่าเท่ากับ 1.76-7.49) ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา/ทำสวน/ทำไร่ มี
ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพทำนา/ทำสวน/ทำไร่ 1.74 เท่า (ค่า 95% CI มี
ค่าเท่ากับ 1.13-2.67)
จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ควรที่จะมีแผนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะ
ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อมาลาเรียในกลุ่มเพศชาย ผู้ที่มีอายุ 45 ปี ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา/
ทำสวน/ทำไร่ เมื่อมีความจำเป็นในการเข้าไปสู่พื้นที่เสี่ยงควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ยากันยุง การใส่
เสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อนำไปสู่การลดอัตราป่วยจากโรคมาลาเรียต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07