การปฏิบัติงานควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแขวงอุดมไช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

ผู้แต่ง

  • จันทร์แสง พันธุอามาตย์
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา
  • ชนัญญา จิระพรกุล

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, การสนับสนุนจากองค์กร, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล การ
สนับสนุนจากองค์กร การปฏิบัติงานควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ระดับแขวง ระดับเมือง และระดับสุขศาลา โดยมีประสบการณ์
ปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวนประชากร 124 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
ถึง 3 มิถุนายน 2558 ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ด้วยแบบสอบถามที่ได้ตรวจสอบความตรง และ
ตรวจสอบความเที่ยงแล้ว และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผล
การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย ร้อยละ 61.0 อายุอยู่ระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 58.0
อายุต่ำสุด 21 ปี อายุสูงสุด 58 ปี (มัธยฐาน=29 ปี) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 70.0 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 69.0 ตำแหน่งนักวิชาการ ร้อยละ 76.0 ประสบการณ์ที่ปฏิบัติงาน
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 84.0 ต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 25 ปี (มัธยฐาน=2 ปี)
ได้รับการฝึกอบรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในรอบสองปีที่ผ่านมา ร้อยละ 42.0 การสนับสนุน
จากองค์กรโดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.41 (S.D.=0.79) เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ทุกด้าน
อยู่ในระดับปานกลาง ระดับการปฏิบัติงานโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.56 (S.D.=0.97)
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.80 (S.D.=0.92)
และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และการควบคุมพาหะนำโรค ค่าเฉลี่ย
3.44 เท่ากัน (S.D.=0.96 และ 1.00) คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน
ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก การสนับสนุนจากองค์กรกับการปฏิบัติงาน ด้านการบริหาร มี
ความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการปฏิบัติงานควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ (r=0.727, p-value≤0.001) ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือ งบประมาณไม่เพียงพอ การ
ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อความร่วมมือยังไม่ได้รับผลดี กล่าวโดยสรุป ควรมีการพัฒนาศักยภาพ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการควบคุมพาหะนำโรค นอกจากนี้ ควรพิจารณาการ
จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการดำเนินงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07