การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผู้แต่ง

  • เอกพล กาละดี

คำสำคัญ:

ขนาดตัวอย่าง, การวิเคราะห์ปัจจัย

บทคัดย่อ

บทความนี้จะกล่าวถึง การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยในงานวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งในปัจจุบันนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพใช้วิธีการสถิตินี้มากขึ้นในการสร้างและ
พัฒนาเครื่องมือประเภทมาตรวัดหรือประเภทสเกลเพื่อวัดคุณลักษณะของตัวแปรที่สนใจที่เป็นนามธรรมซึ่ง
ไม่สามารถวัดค่าของตัวแปรนั้นได้ด้วยคำถามเดียวจึงต้องใช้หลายคำถามประกอบกันเป็นชุดคำถามเพื่อ
สะท้อนคุณลักษณะที่ต้องการวัด อาทิ สมรรถนะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการให้บริการ
สุขภาพระดับปฐมภูมิ การรับรู้การเจ็บป่วยของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ เจตคติของผู้ป่วยเบาหวานในการป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อน เจตคติของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำงาน
และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น ซึ่งการศึกษาดังกล่าวต้องใช้การวิเคราะห์ปัจจัยซึ่งการกำหนด
ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์นี้จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัยด้วย โดยบทความนี้จะ
กล่าวถึงวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัย ประกอบด้วย การกำหนดตามกฎอย่างง่าย
กำหนดตามจำนวนข้อคำถาม กำหนดตามจำนวนปัจจัยที่คาดหวัง กำหนดตามค่าแฟคเตอร์โหลดดิ้ง กำหนด
ตามค่าวิกฤตที่ใช้ทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และกำหนดตามค่า Communality ซึ่งนักวิจัยสามารถใช้
เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการทำวิจัยต่อไปได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์