ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ปัจจัยบริหาร, กระบวนการบริหาร, ไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research Study) มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุม
และป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบล จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มประชากรคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 305 ราย โดยใช้สูตร
การคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 158 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน
2558–เมษายน 2559 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยการบริหาร ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหาร และ
ส่วนที่ 4 ระดับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตาม
เนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น
โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.90
วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยบริหารประกอบด้วยด้านกำลังคน ด้านงบประมาณ
และด้านวัสดุอุปกรณ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงเท่ากับ 2.86 ( X =2.86, S.D.=0.34) ปัจจัย
ด้านกระบวนการบริหารประกอบด้วยด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้าน
อำนวยการ ด้านการประสานงานและด้านการรายงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงเท่ากับ
2.96 ( X =2.96, S.D.=0.19) สำหรับการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร
ประกอบด้วยการปฏิบัติงานเฝ้าระวังโรคการควบคุมการระบาดของโรคการประสานงาน
ขององค์กรในพื้นที่การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในพื้นที่การสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( X =2.93, S.D.=0.24)
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารมีความสัมพันธ์
กับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมุกดาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.569, p-value=
0.046, r=0.070, p-value=0.038 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยผู้บริหารควรให้
ความสำคัญในการสนับสนุนปัจจัยบริหารแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล ในการจัดกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเพียงพอและ
ต่อเนื่องและมีการส่งเสริมให้มีการประสานงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานรวมทั้ง
การสร้างเครือข่ายการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในรูปของคณะกรรมการระดับพื้นที่