ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการฉันภัตตาหารของสามเณรที่ศึกษาในโรงเรยน ี บาลีสาธิตศึกษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดศรีษะเกษ จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
ภาวะโภชนาการ, สามเณร, พฤติกรรมการฉันภัตตาหารบทคัดย่อ
สามเณรจัดอยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต้องการสารอาหารและพลังงานจํานวนมาก แต่ด้วยกรอบของพระวินัยบัญญัติทําให้ถูกจํากัดมื้ออาหารเหลือเพียงสองมื้อ ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินภาวะโภชนาการ และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการฉันภัตตาหารของสามเณรที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อายุ 13-18 ปี โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดศรีษะเกษจังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนากลุ่มตัวอย่างจํานวน116 รูป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ภาวะโภชนาการ ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับด้วยโปรแกรมINMU Thaigrowth และ INMUCAL-Nutrients V3 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเทียบน้ําหนักต่ออายุพบสามเณรบางส่วนที่น้ําหนักมากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบส่วนสูงต่ออายุพบสามเณรค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ 6.9 และ5.2 ตามลําดับ เมื่อเทียบน้ําหนักต่อส่วนสูงพบสามเณรอ้วนและเริ่มอ้วนร้อยละ 10.3 และ 7.8 ตามลําดับสามเณรกลุ่มอายุระหว่าง 13-15 ปี และ16-18 ปี ได้รับพลังงานเฉลี่ยร้อยละ 94.2 และ 86.2 ของ DRI ตามลําดับ ปริมาณโปรตีนต่อวัน ร้อยละ 111.1 และร้อยละ 106.5 ของ DRI ตามลําดับ สําหรับแคลเซียม เหล็ก (เฉพาะสามเณรอายุ 16-18 ปี) วิตามินเอและวิตามินซี พบว่าทั้งสองกลุ่มอายุได้รับไม่เพียงพอตามปริมาณที่กําหนด ส่วนความรู้และทัศนคติด้านโภชนาการของสามเณรอยู่ในระดับปานกลาง สําหรับการฉันภัตตาหารสามเณรฉันวันละ 2 มื้อซึ่งแหล่งที่มาของภัตตาหารมื้อเช้าได้จากการบิณฑบาตมื้อเพลส่วนใหญ่ได้จากพุทธศาสนิกชนนํามาถวายที่วัดและบางวัดมีโรงครัวเตรียมให้ดังนั้นจึงควรจัดโปรแกรมอาหารสําหรับสามเณรเสนอให้ทางวัดที่สามเณรจําพรรษาอยู่ เพื่อให้สามเณรได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการต่อวัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและใจ