ประเมินความเข้มแสงสว่างเฉพาะจุดในห้องเรียน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐกุล คูณเมือง
  • นุชจรี นะรินยา
  • พรพรรณ สกุลค

คำสำคัญ:

ความเข้มแสงสว่าง, ห้องเรียน, หลอดไฟ, ตรวจวัดแบบจุด

บทคัดย่อ

แสงสว่างมีความสําคัญต่อการดํารงชีวิตกิจกรรมในการเรียนการสอนต้องอาศัยแสงสว่างช่วยในการมองเห็น ถ้าแสงสว่างที่ได้รับไม่เพียงพอ หรือมีแสงส่างมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานและสุขภาพของผู้เรียนและผู้สอนด้วยงานวิจัยนี้เป็นการตรวจประเมินความเข้มแสงสว่างในห้องเรียนทีมีลักษณะการเรียนการสอนแบบบรรยาย ทั้งหมด 22 ห้อง โดยใช้เครื่องตรวจวัดระดับความเข้มแสงส่าง (Luxmeter) ทําการตรวจวัดแบบจุด (Spot measurement) ระหว่างเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม2559ผลการตรวจวัดเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ซึ่งกําหนดค่าความเข้มของแสงสว่างสําหรับงานอ่าน-เขียนเอกสาร เท่ากับ 400 ลักซ์ ตามประกาศกระทรวงแรงงานพ.ศ. 2552โดยทําการตรวจวัดทั้งหมดจํานวน378 จุด จุดที่ค่าความเข้มแสงสว่างผ่านค่ามาตรฐานมีจํานวน 235 จุด (62%) และจุดที่ค่าความเข้มแสงสว่างไม่ผ่านค่ามาตรฐานมีจํานวน 143 จุด (38%) เป็นห้องเรียนที่มีค่าเฉลี่ยความเข้มแสงแสงสว่างสูงที่สุดคือห้อง1310เท่ากับ 1,030 ลักษณะ (95% (CI); 766.3-1,295.1), P-value=0.9998 ห้องภูเก้าเป็นห้องเรียนที่มีค่าเฉลี่ยความเข้มแสงแสงสว่างต่ําที่สุดเท่ากับ 123 ลักซ์ (95% (CI); 98.5-147.5), Pขvalue (0.0001) สาเหตุที่ทําใหhคjาความเขhมแสงสวjางต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานมีหลายสาเหตุด้วยกันเช่น หลอดไฟไม่เพียงพอ หลอดไฟชํารุด หลอดไฟไม่สะอาด มีม่านหรือตู้ปอดกั้นทางเข้าของแสงจากภายนอก ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรจัดให้มีการทําความสะอาดหลอดไฟเป็นประจํา เมื่อหลอดไฟเสียควรเปลี่ยนทันทีเพิ่มจํานวนหลอดไฟให้เหมาะสมกับขนาดของห้องเรียนและหลอดไฟควรมีค่าความส่องสว่างที่ได้มาตรฐาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11