ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ ผลการดำเนินงานขององค์กร กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย, ผลการดำเนินงานขององค์กรบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกคือเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และผลการดำเนินงานขององค์กร และมีวัตถุประสงค์อีกประการคือเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการขอการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Assessment Series-OHSAS 18001: 2007) และผลการดำเนินงานขององค์กร เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอันนำไปสู่การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการทำงานงานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 โรงงาน เก็บข้อมูลผ่านทางเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการแต่ละแห่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.80-0.95 ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติตามแนวทางระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามที่กฎหมายกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานขององค์กร ด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ด้านความปลอดภัย ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านการแข่งขันทางธุรกิจ และด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.716, p<0.05; r= 0.633, p<0.05; r=0. 603, p<0.05; r=0.394, p<0.05 และ r=0.352, p<0.05 ตามลำดับ) และในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการขอและไม่ขอการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Assessment Series-OHSAS 18001: 2007) และผลการดำเนินงานขององค์กรซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ขอการรับรองแล้ว มี 33 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 27.50 และที่ยังไม่ขอการรับรองมี 87 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ72.50 และผลการศึกษาพบว่าการขอการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001: 2007) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2=29.760, p<0.05, χ2=21.851, p<0.05 และ χ2=9.039, p <0.05 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน
ด้านการแข่งขันทางธุรกิจ และด้านทรัพยากรมนุษย์