ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ตอบกลับแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ ในโครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่มีการติดตามไปข้างหน้าในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การไม่ตอบกลับ, แบบสอบถามทางไปรษณีย์, สำรวจสุขภาพบทคัดย่อ
การไม่ตอบกลับแบบสอบถามเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสำรวจทางสุขภาพซึ่ง
ทำการศึกษากันเป็นจำนวนมากในแต่ละปี จำเป็นต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการไม่ตอบ
กลับหรือเกิดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความต้องการให้ได้การตอบกลับแบบสอบถามในอัตราที่สูง
เป็ นเป้ าหมายที่สำคัญของผู้วิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร
ตามที่ได้สุ่มตัวอย่างมา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ตอบ
กลับแบบสอบถามทางไปรษณีย์ในโครงการวิจัยด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน
จากโครงการวิจัยสุขภาพคนไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่เป็นการศึกษาไปข้างหน้า ใน
ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ตอบกลับแบบสอบถามในการติดตามกลุ่ม
ตัวอย่างระยะที่ 2 โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี เริ่มต้นระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2548 เก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังกลุ่มเป้ าหมาย และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551
ถึง พ.ศ. 2552 จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 85,217 ราย วิเคราะห์ปัจจัยเพื่ออธิบายความสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจีสติก ผลการศึกษาจากจำนวนตัวอย่าง
85,217 ราย มีผู้ที่ไม่ตอบกลับแบบสอบถาม จำนวน 24,440 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.7
(95%CI: 28.4 ถึง 29.0) จากการวิเคราะห์โดยแสดงระดับความสัมพันธ์ด้วย odds ratio (OR)
และช่วงเชื่อมั่น (95%CI) ของแต่ละปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่ตอบกลับมีดังนี้ คือ
เพศหญิง (OR เท่ากับ 0.88; 95%CI: 0.85 ถึง 0.91; p-value < 0.001) อายุน้อย
(เปรียบเทียบกับอายุ 25 ปี ลงไป, OR ของกลุ่มอายุ 26 ถึง 39 ปี เท่ากับ 0.56; 95%CI: 0.53
ถึง 0.58, OR ของกลุ่มอายุ 40 ปี ขึ้นไป เท่ากับ 0.27; 95%CI: 0.26 ถึง 0.29; p-value <
0.001) ระดับการศึกษาต่ำ (เปรียบเทียบกับระดับมัธยมศึกษา/ปวช./เทียบเท่า, OR ของระดับ
ปวท./ปวส./อนุปริญญา เท่ากับ 0.91; 95%CI: 0.87 ถึง 0.94, OR ของระดับปริญญาตรีหรือ
สูงกว่า เท่ากับ 0.68; 95%CI: 0.65 ถึง 0.71; p-value < 0.001) การมีบุตร (OR เท่ากับ
0.82; 95%CI: 0.78 ถึง 0.85; p-value < 0.001) และอาศัยในเขตเมือง (OR เท่ากับ 1.16;
95%CI: 1.12 ถึง 1.20; p-value < 0.001) ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า เพื่อเพิ่มอัตราการตอบกลับ
แบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์นั้น ผู้วิจัยควรทุ่มเทความพยายามไปที่กลุ่มเพศชาย ผู้ที่อายุน้อย
มีระดับการศึกษาต่ำ ไม่มีบุตร และผู้ที่พักอาศัยในเขตเมือง