ตัวแบบการพยากรณ์อุบัติการณ์การเกิดโรคมาลาเรียในจังหวัดอุบลราชธานี จากข้อมูลผู้ป่วยรายเดือนและปัจจัยด้านสภาวะอากาศ
คำสำคัญ:
การพยากรณ์, อุบัติการณ์การเกิดโรคมาลาเรีย, สมการถดถอยทวินามเชิงลบบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบการพยากรณ์อุบัติการณ์การเกิดโรคมาลาเรียที่เหมาะสมที่สุดของพื้นที่จังหวัด
อุบลราชธานี โดยเปรียบเทียบระหว่างตัวแบบการพยากรณ์เชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยปัวส์ซอง ที่มีตัวแปรตามเป็น
จำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ตัวแปรทำนายเป็นตัวแปรสภาวะอากาศ และตัวแบบการพยากรณ์ของบอกซ์และเจนกินส์ จากข้อมูลอัตรา
ป่วยต่อประชากรแสนคน ขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบใช้ข้อมูลขนาด 108 ค่า ขั้นตอนการประเมินตัวแบบใช้ข้อมูลขนาด 12 ค่า
ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ด้วยตัวแบบการพยากรณ์เชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยปัวส์ซอง เกิดปัญหา
ตัวแปรตามมีความแปรปรวนมากกว่าค่าเฉลี่ย จึงแก้ไขโดยใช้ตัวแบบเชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยทวินามเชิงลบ
พบว่า ตัวแบบที่ดีที่สุด มีเวลา และอุณหภูมิสูงสุด เป็นตัวแปรทำนาย ในขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE
เท่ากับ 12.33, 288.53, และ 24.56 ตามลำดับ ในขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของการพยากรณ์ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE
เท่ากับ 19.04, 558.22, และ 33.46 ตามลำดับ ตัวแบบการพยากรณ์ของบอกซ์และเจนกินส์ที่ได้ คือ ARIMA(1,0,0) ในขั้นตอนการ
พัฒนาตัวแบบ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE เท่ากับ 23.28, 1179.30, และ 38.33 ตามลำดับ ในขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของ
การพยากรณ์ มีค่า MAD, MSE, และ MAPE เท่ากับ 19.45, 590.09, และ 53.00 ตามลำดับ
ซึ่งสรุปได้ว่าตัวแบบเชิงเส้นโดยนัยทั่วไปประเภทสมการถดถอยทวินามเชิงลบเป็นตัวแบบที่เหมาะสมที่สุด เพราะให้ค่า
ความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดไม่ว่าจะพิจารณาจากเกณฑ์ใด และตัวแบบนี้น่าจะมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ เพราะ
อาศัยตัวแปรด้านสภาวะอากาศในการทำนายเพียงตัวแปรเดียว คือ อุณหภูมิสูงสุด และเป็นข้อมูลที่หาได้ง่าย