ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา, นักศึกษาปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1)ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่เป็นตัวเงินและค่าเสียโอกาสทางการศึกษา 2)
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในแต่ละชั้นปีและแต่ละหลักสูตร 3) พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษา และ 4)สภาพปัญหาและความต้องการ
ของนักศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขาภิบาลและสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ศึกษาในปีการศึกษา 2551
จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและ One-way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบ
ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาแต่ละชั้นปีและแต่ละสาขาวิชา
ผลการศึกษา พบว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ตลอดหลักสูตรเฉลี่ย 368,024.14
บาท/คน โดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม มีค่าใช้จ่ายตลอดทั้ง 4 ปี เฉลี่ย 360,047.35 บาท/คน โดยเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่
เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง (เพื่อดำรงชีพ) เฉลี่ย 233,533.04 บาท/คน และค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาโดยตรงเฉลี่ย 126,514.31 บาท/คน
สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยตลอดทั้ง 4 ปี เฉลี่ย 376,000.94 บาท/คน โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่
เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง(เพื่อดำรงชีพ)เฉลี่ย 238,646.72 บาท/คนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงเฉลี่ย 137,354.22 บาท/
คน สำหรับค่าเสียโอกาสทางการศึกษาของนักศึกษา พบว่า ตลอด 4 ปี มีจำนวน 235,952.40 บาท และนักศึกษาแต่ละชั้นปีมีค่าใช้จ่าย
เพื่อการศึกษาที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาทั้งสอง
สาขาวิชามีการใช้จ่ายเงินแตกต่างกันระหว่างภาคต้นและภาคปลาย โดยนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม มีค่าใช้จ่าย
ภาคต้นมากกว่าภาคปลาย ร้อยละ 97.54 และสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายภาคต้นมากกว่าภาคปลาย ร้อยละ
86.90 ส่วนสภาพปัญหาและความต้องการของนักศึกษา พบว่า สภาพปัญหา 5 อันดับที่สำคัญได้แก่ ปัญหาด้านการเงิน ด้านการเรียน
ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านร้านค้าและบริการ และด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนความต้องการของนักศึกษา 5
อันดับที่สำคัญได้แก่ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดหางานหรือสถานที่ประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา การจัดหางานทำระหว่าง
เรียนเพื่อเพิ่มรายได้ กองทุนส่งเสริมการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา และการจัดหาเอกสาร ตำราเรียน และอุปกรณ์ให้เพียงพอ