การประเมินภาวะเสี่ยงของการปวดไหล่จากการทำงานของบุคลากร ในสำนักงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ
  • เบญจา มุกตะพันธ์

คำสำคัญ:

การปวดไหล่, บุคลากรในสำนักงานของมหาวิทยาลัย, สมรรถภาพของกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดไหล่ของบุคลากรใน
สำนักงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรในสำนักงานจำนวน 103 คน ถูกสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม
แบบมีโครงสร้าง ข้อมูลที่ใช้จัดเก็บคือ ลักษณะส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพและภาวะโภชนาการ ปัญหาการปวดไหล่ สภาพแวดล้อมการ
ทำงาน การทดสอบสมรรถภาพของร่างกายโดยใช้อุปกรณ์ และตรวจวัดแสงสว่างในการทำงาน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิง
พรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ทดสอบความสัมพันธ์ของการปวดไหล่กับปัจจัยที่ศึกษาโดย
ใช้สถิติ t-test สำหรับค่าตัวแปรเชิงปริมาณ และสถิติ Chi-square สำหรับค่าตัวแปรเชิงคุณภาพและกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 38.3+10.0 ปี อายุการทำงาน 12.9+11.0 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 79.6 ดัชนีมวลกายบ่งชี้ภาวะปกติคือค่าเฉลี่ย 22.4+3.8 kg/m2 พบความชุกของการปวดไหล่ในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา
ร้อยละ 63.1 โดยอัตราความชุกของการปวดไหล่จะพบในบุคลากรหญิง (ร้อยละ 68.5) สูงกว่าบุคลากรชาย (ร้อยละ 42.9) อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.031) ความยาวเส้นรอบเอวของบุคลากรสำนักงานกลุ่มปวดไหล่ (73.6+12.9 cm) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มไม่
ปวดไหล่ (94.3+16.1 cm) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.049) สาเหตุการปวดไหล่ส่วนใหญ่มาจากการนั่งทำงานในท่าเดียว
นานๆ (ร้อยละ 80.0 ) และเกิดขึ้นในระหว่างชั่วโมงการทำงานและตอนเย็นหลังเลิกงาน ลักษณะอาการคือปวดเมื่อยแต่ไม่มีผลถึงขั้น
หยุดงาน ผลการตรวจวัดแสงสว่างที่หน้างานในสำนักงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ พบว่าร้อยละ 88.0 มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานของ
กระทรวงแรงงานที่กำหนดไว้ เท่ากับ 600 lux จากผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย พบว่าบุคลากรที่มีรายงานการปวดไหล่ในระยะ
1 เดือนที่ผ่านมา มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขา ต่ำกว่ากลุ่มไม่ปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.004
และ p-value =0.046 ตามลำดับ)
ผลการศึกษานี้สามารถบ่งชี้สภาพปัญหาการปวดไหล่ของบุคลากรในสำนักงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรและองค์กร
ได้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจากการทำงานในสำนักงาน และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมตามข้อกำหนดด้าน
มาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมการทำงาน นอกจากนั้นผลการทดสอบสมรรถภาพของ
กล้ามเนื้อหลังสามารถใช้ในการเฝ้าระวังเพื่อการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการปวดไหล่ของบุคลากรสำนักงานได้ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ