การประเมินการดูแลโรคเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา
  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง, การประเมินการดูแลโรคเรื้อรังในมุมมองของผู้ป่วย, ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีการนำรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังมาใช้ในระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ อย่างไรก็
ตามพบว่าการประเมินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามแนวคิดรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังมีจำกัด การศึกษานี้มี
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการดูแลโรคเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างคลินิกบริการโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลเครือข่าย ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลชุมชน
การศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการของเครือข่าย
บริการสุขภาพอำเภอดอกคำใต้ จำนวน 130 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ
แบบสอบถามประเมินการดูแลโรคเรื้อรังในมุมมองของผู้ป่วย ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง
จำนวน 20 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยความตรงเชิง
เนื้อหา เท่ากับ 1 และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) คำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
ได้ค่า 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคว์สแควร์และสถิติทดสอบค่าที
กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ย PACIC ภาพรวมอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=
3.11, S.D.=0.64) ค่าเฉลี่ยโดยรวมของคะแนน PACIC พบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย
(Mean=3.30, S.D.=0.63) และคลินิกบริการโรคเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชน (Mean=2.99, S.D.=0.62)
มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.809, p-value=0.006) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้าน
การแก้ปัญหาสุขภาพของหน่วยบริการระหว่างคลินิกบริการโรคเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชน (Mean=
2.87, S.D.=0.78) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย (Mean=2.98, S.D.=0.64) ไม่มีความ
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.863, p-value = 0.390) ส่วนด้านอื่น ได้แก่ ด้านการกระตุ้นให้
ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรักษา ด้านการออกแบบบริการและสนับสนุนการตัดสินใจ ด้านการกำหนดเป้าหมาย
ร่วมกัน และ ด้านการติดตามผลการรักษาและการประสานงาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า มีความแตกต่างของการดูแลโรคเรื้อรังในแต่ละสถานบริการ การดูแล
โรคเรื้อรังแบบเครือข่าย และการแบ่งปันทรัพยากรของระบบสุขภาพอำเภอ ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีคุณภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ