การประเมินผลคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพเขต 5

ผู้แต่ง

  • ศิรดา เล็กอุทัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมทันตสุขภาพ, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ปี 2550 เขต 5 เด็ก 5 ปี มีฟันผุ ร้อยละ80 วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินผลโครงการคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา, ชัยภูมิ,
บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ในด้านการดำเนินงานโครงการ ปัจจัยนำเข้าและปัจจัยต่อการเลือกวิธีการ แต่
ละจังหวัดคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างอย่างเฉพาะเจาะจง 2 โรงเรียนคู่หูที่มีการดำเนินงานทันต
สุขภาพระดับดี 4 จังหวัด 8 โรงเรียนคู่หู รวมเป็น 16 โรงเรียน (หนึ่งโรงเรียนคู่หูประกอบด้วย
โรงเรียนที่มีการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพระดับดีมากที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาด้านการส่งเสริม
ทันตสุขภาพกับโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงกัน) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ มิถุนายน 2553 ศึกษา
เอกสารผลการดำเนินงานโรงเรียน การสังเกตกิจกรรมและบันทึกวิดีทัศน์ ลงบันทึกแบบ
ตรวจสอบรายการด้านปัจจัยนำเข้าและด้านปัจจัยต่อการเลือกวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า ด้านข้อมูลและด้านวิธีรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์
เชิงเนื้อหา พบว่า มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ทั้งในระดับโรงเรียน
และจังหวัดเพื่อคัดเลือกในระดับเขต มีโรงเรียนเข้าร่วม 68 โรงเรียน ปัจจัยนำเข้าที่ส่งเสริมการ
ดำเนินโครงการ 3 ด้าน ; ด้านบุคคล บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการ
พัฒนาทันตสุขภาพและมีความกระตือรือร้นในการดำเนินงาน ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนและชุมชนร่วมมือกันระดมทรัพยากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ที่เอื้อต่อทันต
สุขภาพ ด้านกลไกและกิจกรรม มีการบริหารจัดการที่ดีและสอดคล้องกับความต้องการของ
ชุมชนโดยมีการประกวดเป็ นการกระตุ้นการดำเนินการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการ
ดำเนินงาน 2 ด้าน ; ด้านการดำเนินการโดยภาคีเครือข่ายนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน อบต. โดย
มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสนับสนุนการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียน ด้านมาตรการดำเนินการ
วิชาการทันตสุขภาพ การควบคุมอาหาร/ขนมที่เป็นอันตรายต่อทันตสุขภาพและการแปรงฟัน
หลังอาหารกลางวันทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยสรุปทุกจังหวัดในเขต 5 มีการ
ดำเนินการคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพ มีการใช้ปัจจัยนำเข้าด้านบุคคล, ทรัพยากร
สิ่งแวดล้อม, กลไกและกิจกรรมที่เอื้อหนุนต่อการทำงานโดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการ
ดำเนินงานด้านภาคีเครือข่ายและมาตรการทางวิชาการทันตสุขภาพ การควบคุมการบริโภคและ
การแปรงฟันเป็นวิธีในการดำเนินงานให้สำเร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03