ผลกระทบต่อสุขภาพจากภัยน้ำท่วมและการปรับตัวของประชาชน ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย เจริญสุข
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

ผลกระทบต่อสุขภาพ, การปรับตัวของประชาชน, พื้นที่นํ้าท่วมซํ้าซาก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพและการปรับตัวของ
ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยการศึกษามี 2 ส่วน คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และการเก็บ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาในหมู่บ้านที่ประสบปัญหา น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัด
ชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 หลังคาเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์
แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการปรับตัวของประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย
ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของน้ำท่วมเกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนร้อยละ
83.6 พายุร้อยละ 38.1 และมีการก่อสร้างขวางทางนํ้าไหลร้อยละ 31.0 ผลกระทบด้านอนามัย
สิ่งแวดล้อม พบว่ามีปัญหาการขาดแคลนอาหารร้อยละ 89.6 มีปัญหาส้วมอุดตันใช้ไม่ได้ร้อยละ
81.0 มีปัญหายุงมากขึ้นร้อยละ 45.1 มีปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ร้อยละ 18.3 มีปัญหาขาดแคลน
น้ำดื่ม ร้อยละ 13.1 มีปัญหาไม่มีที่ทิ้งขยะร้อยละ 11.2 มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น
ร้อยละ 3.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่ามีครอบครัวที่มีที่นาเสียหายโดยสิ้นเชิงร้อยละ 70.1
ผลกระทบต่อสุขภาพ พบว่า มีการเจ็บป่วยร้อยละ 49.3 ส่วนใหญ่คือโรคนํ้ากัดเท้าร้อยละ 94.7
ไข้หวัดร้อยละ 12.1 และมีความเครียดร้อยละ 6.1 ประสบอุบัติเหตุร้อยละ 2.7 สาเหตุคือลื่นล้ม
ร้อยละ 57.1 ด้านการปรับตัว มีการปรับบ้านและถมดินรอบบ้านให้สูงขึ้นร้อยละ 67.6 มีการสร้าง
บ้านแบบสองชั้น ร้อยละ 94.1 มีการสร้างห้องสุขาให้สูงขึ้น มีการเตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง และ
สถานที่ประกอบอาหาร มีการทำนาปี ลดลงแต่ทำปรังเพิ่มมากขึ้น การทำนาปี จะใช้วิธีการหว่านเมล็ด
มากกว่าปักดำเพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่วนใหญ่เลิกเลี้ยงสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์จำนวนน้อยลง หรือปรับ
ช่วงเวลาในการเลี้ยงในฤดูแล้งและขายในฤดูฝน มีการตั้งกฎระเบียบในการสร้างบ้านใหม่และ
การปรับบ้านถมดินให้สูงขึ้นแต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะประชาชนกลัวน้ำท่วม และประชาชน
เชื่อการเตือนภัยน้ำท่วมมากขึ้น จากผลการศึกษาพบว่าการประชาชนส่วนใหญ่มีการปรับตัวและ
มีการวางแผนป้องกันนํ้าท่วมในระดับครัวเรือน แต่ขาดการวางแผนป้องกันนํ้าท่วมในระดับชุมชน
ชุมชนควรมีการวางแผนในการป้ องกันน้ำท่วมในภาพรวมทั้งชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03