สถานการณ์การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภค: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม
  • กาญจนา นาถะพินธุ
  • จรัสศรี นามแก้ว
  • ภัควลัญชณ์ จันทรา

คำสำคัญ:

สถานการณ์, การปนเปื้อนจุลินทรีย์, อาหารพร้อมบริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปนเปื้อน แบคทีเรียโคลิฟอร์ม และStaphylococcus aureus ในอาหารพร้อมบริโภคที่จ าหน่ายในร้านอาหาร 42 ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร 68 แห่ง ใน อ.กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และศึกษาการปนเปื้อน Faecal coliform, Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. ในตัวอย่างอาหารจากตลาดสด 3 แห่ง และห้างสรรพสินค้า 3 แห่ง ในขอนแก่นทำการศึกษาระหว่างเดือน สิงหาคม 2552- มีนาคม 2554 ผลการศึกษาพบว่า 1) อาหารพร้อมบริโภคที่จำหน่ายในร้านและแผงลอย มีแบคทีเรียโคลิฟอร์มไม่ได้มาตรฐานในกลุ่มอาหารปรุงสุกทั่วไป กลุ่มผักสดและผลไม้ และกลุ่มอาหารดิบ ร้อยละ 38.5, 32.6 และ 27.6 ตามล าดับ เชื้อ Staphylococcus aureus เกินมาตรฐานในกลุ่มอาหารดิบ กลุ่มอาหารปรุงสุกทั่วไป และกลุ่มผักและผลไม้ ร้อยละ 50.0, 40.9 และ 27.7 ตามลำดับ 2) อาหารพร้อมบริโภคที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและตลาดสด พบการปนเปื้อน Faecal coliform เกินมาตรฐาน ในอาหารประเภท ยำและสลัด ร้อยละ 96.7 เท่ากัน รองลงมา คือ น้ำพริก ขนมหวาน และผัดผัก ร้อยละ76.7, 63.3 และ 56.7 ตามล าดับ เชื้อ Staphylococcus aureus เกินมาตรฐานในอาหารประเภทย า ร้อยละ 76.7 รองลงมาคือ น้ำพริก สลัด และขนมหวาน ร้อยละ 43.3, 26.7 และ 6.7 ตามลำดับ และเชื้อ Salmonella spp ในอาหารประเภทผัดผักเกินมาตรฐาน ร้อยละ 83.3 รองลงมา คือ ย สลัด น้ำพริก และขนมหวาน ปนเปื้อน Salmonella spp ร้อยละ 60.0, 46.7, 46.7 และ 26.7 ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03