คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive research)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิตการท างานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ(ลักษณะงาน)และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (บรรยากาศองค์การ)กับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา (3) ปัญหาอุปสรรคและความต้องการช่วยเหลือในการท างานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลจังหวัดสระแก้ว จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน คือแบบสอบถามส่วนบุคคล และแบบสอบถามองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาในจังหวัดสระแก้ว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 78 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ และความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์การ(ลักษณะงาน) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (บรรยากาศองค์การ) กับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 47.1ปัญหาอุปสรรคและความต้องการช่วยเหลือในการทำงานของเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระแก้ว พบว่าเจ้าหน้าที่มี อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เงินเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีสถานภาพ ตำแหน่ง และความก้าวหน้า ความมั่นคงในงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย การก าหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนควรปรับปรุง โดยเปรียบเทียบจากอัตรา ค่าครองชีพปัจจุบัน ให้ความส าคัญในการจัดท าแผนพัฒนาโครงสร้าง ปรับปรุงสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมเปิดโอกาส ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการท างาน ควรมีแผนพัฒนาบุคลากร ระยะสั้น ระยะยาว และผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้ที่หลากหลาย