ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ประยูร แก้วคำแสน
  • พรนภำ ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, เบำหวำน, วัณโรคปอดในผู้ป่วยเบำหวำน

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักพบความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอื่นๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการพบวัณโรคปอด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบไม่จับคู่ (Unmatched case-control) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลของรัฐบาลในจังหวัดสกลนคร จ านวน 6 แห่ง เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 กลุ่มศึกษา (Case) คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นวัณโรคปอด จำนวน 119 ราย และกลุ่มควบคุม (Control) คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่เป็นวัณโรคปอด จำนวน238 ราย เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม และแบบคัดลอกเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพรรณนาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบตัวแปรเดี่ยว ใช้สถิติ Chi square test น าเสนอค่า Crude odds ratio (OR) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบหลายตัวแปร ใช้สถิติพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression) โดยใช้ค่า Adjusted odds ratio(ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95% CI) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองทั้งหมด 13,3636 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จ านวน 135 ราย อัตราความชุกการป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน 9.9 รายต่อผู้ป่วยเบาหวาน 1,000 คน ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (ORadj=3.15; 95% CI=1.79-5.53) ระดับ HbA1c มากกว่า 7% (ORadj=7.42; 95% CI=3.78-14.59) การไม่มีสิทธิประกันตน/บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ORadj=5.83; 95% CI=2.27-14.97) การมีผู้ป่วยวัณโรคอาศัยอยู่ร่วมบ้าน (ORadj=5.05; 95% CI=2.68-9.50) และอยู่ในชุมชนแออัด (ORadj=3.29; 95% CI=1.46-7.40)จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานมีอัตราความชุกค่อนข้างสูง ควรมีการคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยเบาหวานทุกปี ให้ครอบคลุมโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานทีมีการควบคุมระดับน้ าตาลไม่ดี และ/หรือมีผู้ร่วมบ้านเป็นวัณโรค ควรส่งเสริมให้ความรู้แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และ อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาให้รวดเร็ว และป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03