ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานของเชื้อ Acinetobacter baumannii ในผู้ป่ วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
MDR-A.baumannii, ปัจจัยเสี่ยง, โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยต่อการติดเชื้อ Multi-Drug resistant Acinetobacter baumannii
(MDR-A.baumannii) ในผู้ป่ วยที่รักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ดระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553
ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 รูปแบบการศึกษา Case-control study กลุ่มศึกษาคือผู้ป่ วยที่
ติดเชื้อ MDR-A.baumannii จำนวน 60 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ติดเชื้อ MDR-A.baumannii
จำนวน 120 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานได้แก่ ไคสแควร์ การวิเคราะห์แบบตัวแปร
เดี่ยว การวิเคราะห์ตัวแปรพหุ โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก เพื่อใช้วิเคราะห์หา
ความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มศึกษาอายุเฉลี่ย 63+17.1 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 65.0
กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 57+ 16.7 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 58.0 กลุ่มศึกษาครองเตียงเฉลี่ย
26.2+ 20.3 วัน กลุ่มควบคุมครองเตียงเฉลี่ย 8.93+ 5.9 วัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพหุ
ถดถอยโลจิสติกพบปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้านการทำหัตถการอย่างต่อเนื่องมากกว่า 7 วัน
ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ (ORadj=6.01; 95%CI=2.16-16.69) การให้อาหารทางสาย
(ORadj=5.07; 95%CI=1.68-15.29) การใส่ Endotracheal tube (ORadj=4.54; 95%CI=
1.51-13.64) การใส่สายสวนปัสสาวะ (ORadj=3.45; 95%CI=2.24-17.4) ปัจจัยเสี่ยงด้าน
ลำดับก่อนหลังการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพที่สำคัญ ได้แก่ Trimethoprimes (ORadj=1.39;
95%CI=1.16-1.67), Quinolone (ORadj=1.33; 95%CI=1.14-1.56), Third generation
Cephalosporins (ORadj=1.28; 95%CI=1.13-1.44), Aminoglycoside (ORadj=1.23; 95%CI=
1.05-1.45), Carbapenem (ORadj=1.20; 95%CI=1.04-1.39) และ Piperacillin/Tazobactam
(ORadj=1.18; 95%CI=1.00-1.39) ตามลำดับ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการ
ติดเชื้อ MDR-A.baumannii มีหลายปัจจัย ดังนั้นผู้ป่ วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะผู้ป่ วยที่ทำ
หัตถการและต้องนอนรักษาตัวเป็นเวลานานมากกว่า 7 วัน และควรมีแผนรองรับเพื่อควบคุม
ป้ องกัน การติดเชื้อดื้อยาหลายขนาน MDR-A.baumannii ในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มที่มี
ปัจจัยเสี่ยงสูง