การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดขอนแก่น) กรณีผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี อายุวัฒน์
  • วณิชชา ณรงค์ชัย

คำสำคัญ:

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551, การบังคับใช้กฎหมาย, ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์การปฏิบัติและผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และ (2) การรับรู้ของผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เจ้าของร้านค้า) จำนวน 717คน ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์สถิติการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows)ผลการวิจัยในส่วนของ สถานการณ์การปฏิบัติและผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พบว่า ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอุดรธานี ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาห้ามจำหน่าย ถึงร้อยละ 80 และ 3 ใน 4ของผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของทั้งสองพื้นที่ไม่รู้ว่าผิดระเบียบเรื่องเวลาจำหน่าย และใช้เหตุผลนีขายให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี สำหรับ การรับรู้ของผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พบว่า ผู้จำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ประมาณร้อยละ 75 ในสองพื้นที่ มีการรับรู้ในมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่บางประเภทในระดับมาก ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบางเวลา ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่มีการรับรู้อยู่ในระดับต่ำ จากผลการศึกษาครั้งนี้ ควรมีมาตรการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ตลอดจนพัฒนากระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ให้มีความเข้มงวดในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ