ผลกระทบของสารเคมี Dicrotophos และ EPN ต่อนิเวศในแปลงคะน้า

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ใจการุณ
  • สังวาล สมบูรณ์

คำสำคัญ:

สารเคมีไดโครโตฟอส,สารเคมีอีพีเอ็น, ผลกระทบ, นิเวศวิทยา

บทคัดย่อ

การตกค้างของสารเคมีในดินและผลผลิตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาวะที่สำคัญ การศึกษาผล
ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชDicrotophosและ EPN ต่อนิเวศในแปลงคะน้า ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ของแมลง และการตกค้างของสารเคมีในดินและผลผลิตคะน้าในแหล่งปลูกคะน้าของจังหวัดอุบลราชธานีเป็น
การศึกษาเชิงทดลอง (Experimental study)ในแปลงปลูกคะน้าและในห้องปฏิบัติการจำนวน 15 แปลง
เก็บข้อมูลโดยสุ่มตรวจนับแมลงด้วยตาเปล่าและใช้กับดักกาวเหนียวทั้งก่อนและหลังการใช้สารเคมีวิเคราะห์
ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (exp H') และดัชนีความอุดมสมบูรณ์ของแมลง (Esn) ตามสมการของ
Shannon-Weiner ด้วยโปรแกรม Ecosimและวิเคราะห์ปริมาณสารตกค้างในดินและในผลผลิตที่เก็บจาก
แปลงทดลองด้วยวิธีgas chromatography (GC) และ high-performance liquid chromatography
(HPLC) ผลการศึกษาพบว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 2 ชนิดทำให้ชนิดและปริมาณแมลงลดลง โดย
แปลงที่ไม่ได้ใช้สารเคมี มีค่าexp H' และ Esnมากกว่าแปลงทดลองที่ใช้สารเคมี นอกจากนี้ พบว่า ปริมาณสาร
ตกค้างของสารเคมีDicrotophosและ EPNในดินที่ 30 วันหลังการใช้สารเคมีเท่ากับ 0.300+0.142 mg/kg
และ 0.150+0.053 mg/kg ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่า maximum allowable concentration (MAC) และ
เป็นไปในทางเดียวกันกับปริมาณสารเคมีที่ตกค้างในผักคะน้าหลังจากที่ใช้สาร 7วัน เท่ากับ 0.176+0.095
mg/kg และ 0.153+0.102 mg/kg ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่า Maximum Residue Level (MRL)จากข้อมูล
การตกค้างข้างต้น ควรเสนอให้มีการพิจารณาการยกเลิกการขึ้นทะเบียนและห้ามการนำเข้าสารเคมี
Dicrotophosและ EPN เนื่องจากเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03