การปรับเกณฑ์คัดกรองการตรวจพันธุกรรมอัลลีล HLA-B*58:01 ในผู้ป่วยรายใหม่ที่มีข้อบ่งใช้ ยา allopurinol เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงในโรงพยาบาลท่าสองยาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาการตรวจอัลลีล HLA-B*58:01 ในผู้ป่วยรายใหม่ที่มีข้อบ่งใช้ยา allopurinol โดยการปรับเกณฑ์คัดกรอง ตลอดจนศึกษาผลต่อสัดส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรอง และศึกษาความแตกต่างของการตรวจพบอัลลีล HLA-B*58:01 ระหว่างผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์ และระหว่างเพศชายกับหญิงในโรงพยาบาลท่าสองยาง วิธีการ: การศึกษาปรับเปลี่ยนเกณฑ์การคัดกรองใหม่โดยให้มีการส่งตรวจผู้ป่วยทุกรายที่เป็นรายใหม่และมีข้อบ่งใช้ยา allopurinol ทั้งนี้ แพทย์ทุกท่านสามารถส่งตรวจได้ในผู้ป่วยทุกคนและทุกสิทธิของการประกันสุขภาพ การศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ป่วยรายใหม่ที่มีข้อบ่งใช้ยา allopurinol และได้รับการตรวจคัดกรองพันธุกรรมอัลลีล HLA-B*58:01 ก่อนการพัฒนา (1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566) กับหลังพัฒนา (1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) การศึกษายังเปรียบเทียบผลการตรวจพบอัลลีล HLA-B*58:01 ระหว่างผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์ และระหว่างเพศชายกับหญิง ผลการวิจัย: หลังการปรับเกณฑ์คัดกรองฯ ผู้ป่วยได้รับการส่งตรวจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) จากร้อยละ 34.8 (54/155 ราย) เป็น 97.4 (37/38 ราย) พบผู้ป่วยที่มีอัลลีล HLA-B*58:01 ในช่วงก่อนการพัฒนา จำนวน 4 รายจากที่ส่งตรวจ 54 ราย (ร้อยละ 7.4) และช่วงหลังการพัฒนาพบจำนวน 1 รายจากที่ส่งตรวจ 37 ราย (ร้อยละ 2.7) ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งตรวจทั้งหมด 91 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยจำนวน 44 ราย ตรวจพบอัลลีล HLA-B*58:01 จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 11.4 ของกลุ่มผู้ป่วยชาวไทย และร้อยละ 5.5 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการส่งตรวจ) ผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 47 ราย ตรวจพบจำนวน 0 ราย ผู้ป่วยชาวไทยตรวจพบมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.017) สัดส่วนการตรวจพบอัลลีล HLA-B*58:01 ของเพศชายและหญิง เท่ากับร้อยละ 5.7 และ 4.8 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.867) ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษาไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนัง สรุป: การปรับเกณฑ์คัดกรองฯ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองพันธุกรรมอัลลีล HLA-B*58:01 ก่อนเริ่มยา allopurinol มากขึ้น ผู้ป่วยชาวไทยตรวจพบอัลลีล HLA-B*58:01 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์ เพศชายและหญิงพบไม่ต่างกัน ควรมีการนำกระบวนการนี้ไปปรับใช้ในการตรวจคัดกรองอัลลีลของ HLA-B ที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงในยารายการอื่นต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Thai Rheumatism Association. Guideline for manage- ment of gout [online]. 2012 [cited Feb 20, 2024]. Available from: drive.google.com/file/d/1rtevMTJ9px sgED5ja-B6vVp22QrIs8sm/view.
FitzGerald JD, Dalbeth N, Mikuls T, Brignardello-Petersen R, Guyatt G, Abeles AM, et al. American College of Rheumatology guideline for the manage- ment of gout. Arthritis Care Res (Hoboken). 2020; 72: 744-60.
Keller SF, Lu N, Blumenthal KG, Rai SK, Yokose C, Choi JWJ, et al. Racial/ethnic variation and risk factors for allopurinol-associated severe cutaneous adverse reactions: a cohort study. Ann Rheum Dis. 2018; 77: 1187-93.
Somkrua R, Eickman EE, Saokaew S, Lohitnavy M, Chaiyakunapruk N. Association of HLA-B*5801 allele and allopurinol-induced Stevens Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis: a systematic review and meta-analysis. BMC Med Genet. 2011; 12: 118.
Sukasem C, Jantararoungtong T, Kuntawong P, Puangpetch A, Koomdee N, Satapornpong P, et al. HLA-B*58:01 for allopurinol-induced cutaneous adverse drug reactions: implication for clinical interpretation in Thailand. Front Pharmacol. 2016; 7: 186.
Tassaneeyakul W, Jantararoungtong T, Chen P, Lin PY, Tiamkao S, Khunarkornsiri U, et al. Strong association between HLA-B*5801 and allopurinol-induced Stevens-Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis in a Thai population. Pharmaco genet Genomics. 2009; 19: 704-9.
Limkobpaiboon S. Prevalence and mortality rate of severe cutaneousadverse reactions at Siriraj Hospital. Chulalongkorn Medical Journal. 2010; 54: 467-77.
Saksit N, Tassaneeyakul W, Nakkam N, Konyoung P, Khunarkornsiri U, Chumworathayi P, et al. Risk factors of allopurinol-induced severe cutaneous adverse reactions in a Thai population. Pharmaco- genet Genomics. 2017; 27: 255-63.
Health Product Safety Surveillance Center, Food and Drug Administration, Ministry of Public Health. Spontaneous report of adverse drug reaction 2022. Bangkok: Aksorn Graphics and Design; 2023.
Satapornpong P, Jinda P, Jantararoungtong T, Koom dee N, Chaichan C, Pratoomwun J, et al. Genetic diversity of HLA class I and class II alleles in Thai populations: contribution to genotype-guided therapeutics. Front Pharmacol. 2020; 11: 78.
Wu R CY, Zhu LL, Yu L, Zhao XK, Jia M, et al. Impact of HLA-B*58:01 allele and allopurinol-induced cutaneous adverse drug reactions: evidence from 21 pharmacogenetic studies. Oncotarget. 2016; 7: 81870–9.
Puangpetch A, Koomdee N, Chamnanphol M, Janta- raroungtong T, Santon S, Prommas S, et al. HLA-B allele and haplotype diversity among Thai patients identified by PCR-SSOP: evidence for high risk of drug-induced hypersensitivity. Front Genet. 2014; 5: 478.
Saokaew S, Tassaneeyakul W, Maenthaisong R, Chaiyakunapruk N. Cost-effectiveness analysis of HLA-B*5801 testing in preventing allopurinol-induced SJS/TEN in Thai population. PLoS One. 2014; 9: e94294.
Pharmacogenetics Research Project for Rational Drug Use in Thailand. Clinical pharmacy practice guidelines for genetic testing HLA-B*58:01 for use of allopurinol, 2021 edition. Bangkok: Kiratithanaphat; 2021.
Announcement of the National Health Security Commission on types and scope of public health services (No. 22). Royal Gazette No. 138, Part 98D special (May 7, 2021).
Kloypan C, Koomdee N, Satapornpong P, Tempark T, Biswas M, Sukasem C. A comprehensive review of HLA and severe cutaneous adverse drug reactions: implication for clinical pharmacogenomics and precision medicine. Pharmaceuticals (Basel). 2021; 14: 1077.
Mahasirimongkol S, Somboonyosdech C, Kumpera sart S, Wattanapokayakit S, Satproedprai N, Inun chot W, et al. HLA-B allelic distribution in samples from Thailand national health examination survey. Journal of Health Science. 2014; 23: 191-200.
Kunakornsiri U, Konyoung P, Kongpan T, Kwang- sukstid S, Kanjanawart S, Tassaneeyakul W. HLA-B*58:01 genotype is associated with risk of severe cutaneous reactions induced by allopurinol in patients admitted in Udonthani hospital. Srinagarind Medical Journal. 2014; 29: 127-32.