การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา: การศึกษาการใช้ทะเบียนจัดการ ความเสี่ยงโดยบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการความเสี่ยงในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา (medication errors; MEs) โดยใช้ทะเบียนจัดการความเสี่ยง (risk register: RR) ตามบริบทของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการใช้ยา ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล แพทย์แผนไทย เจ้าพนักงานเภสัชกรรม และเจ้าหน้าที่ห้องยา รวม 50 คนเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการความเสี่ยงในการป้องกัน MEs กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนการดำเนินงาน 2) การลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 3) การสังเกตการณ์ปฏิบัติตามแผน 4) การสะท้อนผลและการปรับปรุงแผน และ 5) การประเมินความพึงพอใจของบุคลากรหลังการพัฒนากระบวนการ ผลการวิจัย: กระบวนการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกัน MEs ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการเดิม คือ 1) การนำข้อมูล MEs มาจัดลำดับความสำคัญ 2) การกำหนดผู้รับผิดชอบหลักใน MEs แต่ละประเภท 3) การนำ MEs มาขึ้นทะเบียนใน “risk register on google drive” 4) การออกแบบมาตรการเพื่อป้องกัน MEs และการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานผ่านทางโปรแกรม “คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ/CPG” และ 5) การติดตามระดับความเสี่ยงและทบทวนมาตรการป้องกัน MEs ตามรอบที่กำหนด หลังการใช้มาตรการป้องกัน MEs พบว่า MEs ที่มีความรุนแรงระดับ E ขึ้นไปลดลงจากร้อยละ 2.08 เป็น 0 ระดับ C-D ลดลงจากร้อยละ 21.53 เป็น 10.00 และระดับ A-B เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.39 เป็น 90.00 การประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ กระบวนการทำงาน บุคลากร ผลลัพธ์ของการดำเนินการ และการสื่อสาร พบว่าอยู่ในระดับมาก สรุป: การพัฒนากระบวนการในการจัดการความเสี่ยงโดยใช้ RR ทำให้สามารถดักจับ MEs ได้มากขึ้น และทำให้อันตรายจาก MEs ในผู้ป่วยลดลง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
World Health Organization. WHO launches global effort to have medication-related errors in 5 years [online] 2017 [cited Mar 25, 2021]. Available from: www.who.int/news/item/29-03-2017-who-launches-global-effort-to-halve-medication-related-errors-in-5-years
Healthcare Accreditation Institute (Public Organiza- tion). National Reporting and Learning System (NRLS) [online] 2018 [cited Nov 25, 2021]. Available from: thai-nrls.org.
Healthcare Accreditation Institute (Public Organiza- tion). Criteria and methods for evaluating the development and quality certification of health care facilities [online]. 2023 [cited Oct 20, 2023] Available from: www.ha.or.th/TH/Downloads/กฎหมายกำกับสถาบัน?CategoryID=154#
Oltean AM, Crişan O. Risk management in preventing medication errors in a community pharmacy. Famacia 2018; 66: 725-32.
Yousef N, Yousef F. Using total quality management approach to improve patient safety by preventing medication error incidences. BMC Health Serv Res 2017; 17: 621. doi: 10.1186/s12913-017-2531-6.
Lapjitra P, Kessomboon N. Risk management with Failure Mode and Effects Analysis of vaccine cold chain in Sanom district, Surin province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2021; 13: 52-65.
Rattanadetsakul C, Rattanadetsakul P. Risk register: drug risk management support tool [online].2018 [cited Mar 13, 2021]. Available from: ccpe.pharmacy council.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=470.
Sridokmai R. Risk management tools: risk register [online] 2019 [cited Mar 13, 2021]. Available from: www.qualitythestory.com/risk-management-tools-risk-register/
Saffin T, Laryea S. The use of risk registers by project managers. In: 4th West Africa Built Environ- ment Research (WABER) conference. Nigeria: Abuja; 2012, p. 1305-1318.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Victoria: Deakin University; 1988.
Supachutikul A. Example risk register update. [online] 2019 [cited Jun 30, 2021]. Available from: www.ayhosp.go.th/ayh/index.php/ha-lean
Healthcare Accreditation Institute (Public Organiza- tion). New HA standards: Risk management through risk register [online]. 2018 [cited Jul 2, 2021]. Available from: www.rh12.moph.go.th/wp-content/up loads/2018/08/New-STD-RM-หาดใหญ่-risk-register-.pdf
Sriangkoon S. Risk matrix and risk profile. [online] 2012 [cited Jun 30, 2021]. Available from: www.soidao.go.th/km/index.php/download/category/44-ha?download=92:risk-matrix-vs-risk-profile&start =20
Keers N, Williams D, Cooke J, Walsh T, Ashcroft M. Impact of interventions designed to reduce medication administration errors in hospitals: A systemic review. Drug Saf 2014; 37: 317-32.
Kanbanchong K, Saramunee K. Medication error management using risk register in a sub-district health promotion hospital, Nakhonratchasima province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2024; 16: 38-48.
Li W, Zhu LL, Zhou Q. Safe medication use based on knowledge of information about contraindications concerning cross allergy and comprehensive clinical intervention. Ther Clin Risk Manag. 2013; 9: 65–72.