ผลของการพยากรณ์ปริมาณในการจัดซื้อด้วยการจัดกลุ่มยาแบบ ABC-VEN Analysis และการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศรีบุญเรือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาระบบการจัดซื้อยาโดยการพยากรณ์ปริมาณในการจัดซื้อด้วยการจัดกลุ่มยาแบบ ABC-VEN analysis และการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน วิธีการ: การศึกษาเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ยาของโรงพยาบาลศรีบุญเรืองทุกรายการเฉพาะรายการยาที่จัดซื้อเอง ย้อนหลัง 3 ปีงบประมาณ (2562-2564) รวมจำนวนทั้งหมด 355 รายการ การศึกษานำข้อมูลการใช้ยาดังกล่าวมาจัดทำแผนการจัดซื้อยาประจำปีงบประมาณ 2565 และนำมาแบ่งกลุ่มยาตามระบบ ABC-VEN analysis หลังจากนั้นดำเนินการจัดซื้อยาตามค่าพยากรณ์ปริมาณยาที่ควรจัดซื้อทีคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน การประเมินผลทำโดยเปรียบเทียบอัตราการสำรองยาเฉลี่ย ร้อยละของปริมาณยาขาดคราว และร้อยละปริมาณยาหมดอายุระหว่างก่อนการพัฒนาระบบ (เมษายน 2564 ถึงกันยายน 2564) กับหลังจากการพัฒนาระบบ (ตุลาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565) ผลการวิจัย: จำนวนรายการยาจำแนกตามกลุ่ม ABC-VEN มีดังนี้ AV 15 รายการ (ร้อยละ 4.2) BV 16 รายการ (ร้อยละ 4.5) CV 60 รายการ (ร้อยละ 16.9) AE 56 รายการ (ร้อยละ 15.8) BE 66 รายการ (ร้อยละ 18.6) CE 105 รายการ (ร้อยละ 29.6) AN 4 รายการ (ร้อยละ 1.1) BN 11 รายการ (ร้อยละ 3.1) และ CN 22 รายการ (ร้อยละ 6.2) กลุ่ม AN มีค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ (mean absolute percentage error) น้อยที่สุดเท่ากับ 20.96 หลังการพัฒนาระบบพบว่า อัตราการสำรองยาเฉลี่ย 6 เดือนลดลงเหลือเฉลี่ย 58.80 วัน จากเดิมเฉลี่ย 83.56 วัน ร้อยละของปริมาณยาขาดคราวลดลงจาก 2.25 เป็น 1.13 ทั้งนี้ ไม่พบรายการยาที่หมดอายุทั้งในช่วงก่อนและหลังพัฒนาระบบ สรุป: ระบบการจัดซื้อยาที่จำแนกกลุ่มยาเป็น ABC-VEN และพยากรณ์ปริมาณยาที่ต้องการจัดซื้อยาโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 3 เดือน ช่วยลดอัตราการสำรองยา รวมทั้งลดปัญหายาขาดคราว และไม่ก่อให้เกิดปัญหายาหมดอายุ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Drug and Medical Supply Information Center, Ministry of Public Health. Repot on medical supply manage- ment [online]. 2020 [cited Dec 20, 2020]. Available from: dmsic.moph.go.th.
Chaiveerathai S, Liampreecha W. Optimization and cost reduction of pharmaceutical inventory manage- ment: A case study of a government hospital in Phitsanulok. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 2015; 3: 139-53.
Youcharoen T, Wasusri T. The development of pharmaceuticals and medical supplies inventory Replenishment System: A case study of community hospital. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2018; 14: 92-106.
Mohummed SA, Workneh BD. Critical analysis of pharmaceuticals inventory management using the ABC-VEN matrix in Dessie Referral Hospital. Integr Pharm Res Pract 2020; 9: 113-25.
Puspitasari A, Satibi, Yuniarti E, Taufiqurohman. Forecasting drug demand using the single moving average 3 periode at UGM academic hospital. Journal Farmasi Sains dan Praktis 2022; 8: 233-42.
Anurattananon C, Klomjit P, Promtong P, Lekkul R. Medicine ordering scheduling in public hospital: A case study of Sirindhorn hospital. Thai Industrial Engineering Network Journal 2020; 6: 8-19.
Umry TF, Singgih ML. Inventory management and reorder point (ROP) strategy using ABC analysis methods in textile manufacture [online]. 2019 [cited July 9, 2023]. Available from: iptek.its.ac.id/index. php/jps/article/view/6188/0
Arnold JT, Chapman SN, Clive LM. Introduction to materials management. 6th ed. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall; 2008.
Ministry of Public Health. Criteria for measuring financial management efficiency. Bangkok: Ministry of Public Health; 2018.
Pungsak A. Precision and effectiveness of demand forecasting for drug inventory management [master thesis]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2015.
Lewis CD. Industrial and business forecasting methods. London: Butterworth Scientific; 1982.
Thazin MP, Sakulbumrungsil R. Analysis of pharma- ceutical inventory management in a state hospital in Myanmar. Thai J Pharm Sci 2022; 46: 203-7.
Mohamed MA, Ibrahim MM, Palaian S, Shafie AA. Medicine expenditures in Sudan National Health Insurance Fund: an ABC-VEN analysis of 5-year medicine consumption. J Pharm Health Serv Res 2016; 7: 165-71.
Sanguansak S, Rathanachompoo C. Application of ABC-VEN analysis for inventory management in Phrae Hospital. Journal of Health Consumer Protection 2023; 3: 21-32.
Jamroenkhajonsak P, Cheawchanwattana A. Fore- casting the amount of drug procurement: A case
study of community hospital. Pharmacy manage- ment [master thesis]. Khon Kean: University of Khon Kean; 2021.
Sriwattana K. Development of efficient medical inventory management of Saraburi hospital [master thesis]. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology; 2019