กลไกการดำเนินงานของเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบการเฝ้าระวังยาและ ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศิริรัตน์ สัตย์มิตร
รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์
พักตร์วิภา สุวรรณพรหม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์กลไกการดำเนินงานของเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบการเฝ้าระวังยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนของจังหวัดพะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ วิธีการ: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง การศึกษาคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ร่วมกับวิธีการบอกต่อ (snow-ball technique) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เภสัชกรโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ตัวแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค ตัวแทนผู้ประกอบการร้านค้า ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และตัวแทนประชาชน รวมทั้งสิ้น 44 คน ผลการวิจัย: กลไกสำคัญในการดำเนินงานของเครือข่าย ประกอบด้วย 1) สมาชิกเครือข่ายที่มาจากหลายภาคส่วน โดยอาศัยแกนนำหรือต้นทุนเครือข่ายเดิมในพื้นที่ 2) ผู้ประสานงานทุกระดับมีศักยภาพและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน 3) งบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน 4) การจัดการเชิงระบบด้วยการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการ พชอ. หรือการทำข้อตกลงความร่วมมือในพื้นที่ 5) การติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว และเหมาะสมกับกิจกรรม แกนนำเครือข่ายและผู้ประสานงานมีการตอบสนองต่อข้อมูลอย่างทันเวลา และ 6) การมีเครือข่ายภาคประชาชนร่วมดำเนินงานในทุกระดับ กลไกสำคัญเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักถึงปัญหาด้วยการการคืนข้อมูลปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพสู่ชุมชน 2) การจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และ 3) การมุ่งเน้นการให้คุณค่าแก่สมาชิกผ่านการให้ความชื่นชม เชิดชูเกียรติ และสร้างการยอมรับ สรุป: กลไกการดำเนินงานของเครือข่าย และกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พบในการศึกษา ทำให้เครือข่ายระบบการเฝ้าระวังยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนมีความเข้มแข็งและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sukamolson S, Sriviriyanuparp W, Kulsomboon V. Priority, Prevalence and geographic distribution of unsafe products in Thailand. Journal of Health Systems Research 2016; 10: 65-79.

Phetcharaburanin P, Saokaew S. Prevalence of unsafe medicines in groceries: a case study in the districts of Lom Kao, Khao Kho and Nam Nao in Phetchabun Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 422–30.

Ruenruay S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the Health Provider Board Region 3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 225-35.

Boonyoung U, Muenpa R. Prevalence of and factors affecting inappropriate sale of drugs in grocery stores within Phitsanulok Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 105-18.

Booddawong B, Kiatying-Angsulee N, Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J, et al. Sources and distribution of unlawful medicines in 8 Provinces of Thailand: to Inform the public policy change. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11 Suppl: S260-8

Surin N. Prevalence and characteristics of grocery stores that sold antibiotics in Amphoe Muangpan, Lampang province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 200-5.

Wiriyanutai P. Prevalence and characteristics of groceries that provided antibiotics in Ngao District, Lampang Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 167-77.

Koonyodying A. Prevalence and characteristics of antibiotics providing groceries in Amphoe Wangnuea, Lampang province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 114-20.

Sungthong W. Prevalence of grocery stores with antibiotics selling at Maesuai district, Chiang Rai Province and its affecting factors. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 38-46.

Saramon P, Ruengorn C, Seangphichai S, Wonghankla B. Epidemic of inappropriate health products and associated adverse events among chronic disease patients in border area, Wieng Kan District, Chiang Rai Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 307-17.

Panya R. Effects of the intervention on steroid adulterated health products at the communities in the catchment area of Khun Lan Sub-district Health Promoting Hospital, Dok Kham Tai District, Phayao. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 552-63.

Suntep W. Lesson learned from the consumer protection operated by the Network of Bawal-Ral (home, temple, school and hospital), Lampang Province. Journal of Health Sciences Scholarship 2018; 6: 16-30.

Office of the National Health Commission. Resolution 12.4 Community-centered system management for becoming a rational drug use country [online]. 2019 [cited Mar 31, 2024]. Available from: www.samatcha.org/site/resolution/d5550140-ac9b-40ef-a382-ae0da254c85f/detail

Nata P, Suwannaprom P, Awiphan R. Integrating pharmacist’s roles in health consumer protection into community health system. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 11: 61-76.

Netchanok K, Rungreangkulkij S, Kotnara I. Integrating operations to develop of a mechanism to coordinate and prevent the problem of teenage pregnancy: a case study in Chaiyaphum Province. Journal of Health Science 2020; 29: 191-200.

Booddawong B, Yoongthong W. Community empowerment in the management of the problems on Inappropriate drugs and health products: case study of Nonkhun District, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 331-43.

Division of Health Education, Department of Health Promotion. Networking and community engagement in health behavior change in communities. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2013.

Angkanavisul T, Musikachai P. Lessons learned from the project on drug safety management within community by engaging the network of partners in Phra Nakhon Si Ayutthaya during 2015-2017. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 142-60.