ยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง: ขนาดของปัญหาและสาเหตุ

Main Article Content

ไมย์แนล หมัดบินเฮด
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาขนาดและสาเหตุของการมียาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง วิธีการ: การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อหาสาเหตุของยาเหลือใช้ โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล 5 ท่านและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 14 ท่าน ผู้วิจัยค้นหาสาเหตุของการมียาเหลือโดยสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่ม และยังใช้การสนทนากลุ่มในผู้ป่วย การศึกษาส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อหาจำนวนยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับการรักษาในโรงพยาบาลไม่เกิน 2 ปีเพื่อลดโอกาสการที่ผู้ป่วยทิ้งยาที่เหลือหรือหมดอายุ ผู้วิจัยการนับปริมาณยาของยาเหลือที่บ้านของผู้ป่วย 81 รายและสัมภาษณ์เพื่อประเมินการใช้ยาตามสั่ง ร่วมกับการพิจารณาประวัติการรักษาของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อคำนวณหาปริมาณยาที่เหลือจำแนกตามสาเหตุต่าง ๆ ผลการวิจัย: การศึกษาส่วนที่ 1 พบว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดยาเหลือใช้ได้แก่ 1) ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย เช่น การหยุดยาเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์จากยา การลืมรับประทานยา 2) การสั่งจ่ายยาในปริมาณที่มากกว่าที่ผู้ป่วยควรได้รับโดยไม่ตั้งใจ ได้แก่ การสั่งจ่ายยาเกินกว่าที่ต้องใช้จริงเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป และการสั่งจ่ายยาซ้ำหรือที่ผู้ป่วยมีอยู่แล้วเนื่องจากขาดการตรวจสอบประวัติรักษา 3) การขาดระบบการจัดการยาเหลือใช้สะสมที่เกิดจากความตั้งใจของแพทย์ ได้แก่ การสั่งจ่ายยาเผื่อขาด และการเปลี่ยนแปลงการรักษา และ 4) การใช้บริการจากสถานพยาบาลมากกว่า 1 แห่ง เช่น ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล การรับยาตัวเดียวกันจากหลายสถานพยาบาล เป็นต้น การศึกษาส่วนที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยมียาเหลือทั้งหมด 110.62±88.29 เม็ดต่อคนต่อปี หรือ 70.75±57.51 บาทต่อคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 11.17 ของมูลค่ายาที่ได้รับทั้งหมด มูลค่ายาเหลือใช้ร้อยละ 53.74, 24.92 และ 8.27 เกิดจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยาเผื่อขาด และการสั่งยาเกินกว่าที่ผู้ป่วยต้องใช้จริงเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป ตามลำดับ ผู้ป่วยในคลินิกโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลในขณะทำวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,820 คน มูลค่าความสูญเสียจากยาเหลือที่ประมาณการได้ คือ 199,515 บาทต่อปี สรุป: ข้อมูลมูลค่าของยาเหลือใช้สามารถช่วยเพิ่มความตระหนักในปัญหานี้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล สาเหตุและขนาดของยาเหลือใช้จากแต่ละสาเหตุทำให้สามารถสร้างแนวทางการจัดการปัญหาที่มุ่งเน้นไปที่สาเหตุหลักของปัญหา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Law AV, Sakharkar P, Zargarzadeh A, Tai BW, Hess K, Hata M, Mireles R, Ha C, Park TJ. Taking stock of medication wastage: Unused medications in US households. Res Social Adm Pharm 2015; 11: 571-8.

Trueman P, Taylor DG, Lowson K, et al. Evaluation of the scale, causes and costs of waste medicines [online]. 2010 [cited Oct 10, 2023]. Available from: discovery.ucl.ac.uk/id/eprint/1350234/

Bouvy M, van’t Land R, Meulepas M, Smeenk IW. Waste of Medicines: Situation in 2004. DGV: Dutch Institute for Rational Use of Medicine; 2006.

Stroupe KT, Murray MD, Stump TE, Callahan CM. Association between medication supplies and healthcare costs in older Adults from an urban healthcare system. J Am Geriatr Soc 2000; 7: 760-8.

Champoonot P, Chowwanapoonpohn H, Suwanprom P. Leftover drugs and drug use behavior of people in Chiang Mai Province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2011; 6: 105-11.

Chaiyakunapruek N, Nimphitakphong P, Jianpeera pong N, Dilokthonsakon P. A study of the magnitude and fiscal impact of excessive drug possession and policy suggestions [online]. 2012 [cited Oct 10, 2023]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/bitstream /handle/11228/3641/hs1957.pdf?sequence=3&isAllowed=y

Seehusen DA, Edwards J. Patient practices and beliefs concerning disposal of medications. J Am Board Fam Med 2006; 19: 542-7.

Dechbun M. Study of drug use behavior in patients with diabetes and high blood pressure in Chiang Mai District. Saraphi Public Health Journal 2011; 1: 19-23.

West LM, Diack L, Cordina M, Stewart D. A systematic review of the literature on ‘medication wastage’: an exploration of causative factors and effect of interventions. Int J Clin Pharm 2014; 36: 873–81.

Kearney PM, Whelton M, Reynolds K, Muntner P, Whelton PK, He J. Global burden of hypertension: analysis of worldwide data. Lancet 2005; 365: 217-23.

Aekplakorn W, Puckcharern H, Satheannoppakao W. Report on Thai National Health Examination Survey, NHES VI [online]. 2021 [cited Jan 16, 2024]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/54 25.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

Thailand Board of Investment. Thailand in Brief [online]. 2022 [cited Mar 7, 2024]. Available from: www.boi.go.th/index.php?page=demographic&language=en

Wongpoowarak P, Wanakamanee U, Panpongtham K, Trisdikoon P, Wongpoowarak W, Ngorsuraches S. Unused medication at home-reason and cost. Int J Pharm Pract 2004; 12: 141-8.

Morgan TM. The economic impact of wasted prescription medication in an outpatient population of older adults. J Fam Pract 2001; 50: 779-81.

Susan E, Andrade S, Kristijan H, Kahler M, Feride F, Arnold C. Methods for evaluation of medication adherence and persistence using automated databases. Pharmacoepidemiol Drug Saf 2006; 15: 565–74.

Phulthong P, Kerdchantuk P. Development of a screening tool for predicting the risk of leftover medicines in diabetic patients who take oral diabetic medications. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2019; 15: 65-74.