ความชุกของการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ของสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความชุกของการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ผิดกฎหมายของสถานพยาบาลเอกชนที่ยื่นขออนุมัติโฆษณา (private healthcare facilities with advertising approval: PHFs-AA) กับสถานพยาบาลเอกชนที่ไม่ยื่นขออนุมัติ (private healthcare facilities with no advertising approval: PHFs-noAA) ในจังหวัดชลบุรี วิธีการ: รูปแบบของการศึกษาคือการวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ตัวอย่าง คือ PHFs-AA และยังประกอบกิจการทุกแห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 90 แห่ง และ PHFs-noAA โดยการจับคู่กับ PHFs-AA ในอัตรา 1:2 เท่ากับ 180 แห่ง การศึกษาเก็บข้อมูลจากโฆษณาของตัวอย่างทางสื่อออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Line, เว็บไซด์, Instagram, Youtube, Twitter และ TikTok ในช่วงวันที่ 1-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ผู้วิจัยตรวจสอบโฆษณาในประเด็นการฝ่าฝืนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา จากโฆษณาของ PHFs-AA และ PHFs-noAA ทั้งหมด 2,845 ชิ้น และ 2,086 ชิ้น ตามลำดับ PHFs-AA และ PHFs-noAA มีการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมาย จำนวน 1,670 ชิ้น (ร้อยละ 58.7) และ 1,481 ชิ้น (ร้อยละ 71.0) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) คลินิกเวชกรรมในกลุ่ม PHFs-AA และ PHFs-noAA มีการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมาย มากที่สุด จำนวน 1,393 ชิ้น (ร้อยละ 83.4 ของโฆษณาทั้งหมดที่ฝ่าฝืนกฎหมายในกลุ่ม PHFs-AA) และ 1,140 ชิ้น (ร้อยละ 77.0 ของโฆษณาทั้งหมดที่ฝ่าฝืนกฎหมายในกลุ่ม PHFs-noAA) ตามลำดับ โดยช่องทางที่พบการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายมากที่สุดพบเหมือนกันทั้งสองประเภทคือ Facebook จำนวน 1,204 ชิ้น (ร้อยละ 62.6 ของโฆษณาทั้งหมดที่ฝ่าฝืนกฎหมายในกลุ่ม PHFs-AA) และ 934 ชิ้น (ร้อยละ 72.1 ของโฆษณาทั้งหมดที่ฝ่าฝืนกฎหมายในกลุ่ม PHFs-noAA) การประเมินโฆษณา 1 ชิ้นอาจฝ่าฝืนกฎหมายได้มากกว่า 1 ประเด็น ทั้งนี้ PHFs-AA และ PHFs-noAA มีประเด็นการฝ่าฝืนกฎหมายทั้งหมด 3,454 และ 4,241 ประเด็น ตามลำดับ PHFs-AA มีการฝ่าฝืน ประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่าย ในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ.2562 มากที่สุด จำนวน 1,186 ชิ้น (ร้อยละ 34.3 ของการฝ่าฝืนกฎหมายทั้งหมดในกลุ่ม PHFs-AA) ส่วน PHFs-noAA มีการฝ่าฝืนการขออนุมัติโฆษณามากที่สุด จำนวน 1,548 ชิ้น (ร้อยละ 36.5 ของการฝ่าฝืนกฎหมายทั้งหมดในกลุ่ม PHFs-noAA) สรุป: การโฆษณาทางสื่อออนไลน์ของ PHFs-noAA มีการฝ่าฝืนกฎหมายสูงกว่า PHFs-AA อย่างมีนัยสำคัญ คลินิกเวชกรรมและช่องทาง Facebook พบการฝ่าฝืนกฎหมายมากที่สุด สำนักงานสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการยื่นขออนุมัติโฆษณา รวมถึงบทกำหนดโทษของการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการรับทราบและปฏิบัติให้ถูกต้อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Legal Division, Department of Health Service Support. Guidelines for managing advertisements or announcements related to hospitals [online]. 2018 [cited Feb 16, 2024]. Available from: hss.moph.go. th/fileupload_doc/advertise_manual.pdf.
Hospital Act (No. 4) B.E. 2559. Royal Gazette No 133. Part 107A (Dec 27, 2016).
Bureau of Hospitals and Medical Licenses, Depart- ment of Health Service Support. Summary report on consumer protection in healthcare services in 2020 [online]. 2020 [cited Feb 16, 2024]. Available from: hss.moph.go.th/HssDepartment/file_reference/20210430829887180.pdf.
Pacharathip C. Prevalence of illegal online advertise ments among aesthetic medical clinics in Mueang district within a southern province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 236-46.
Sirisawat W. The study on advertisements of private sanitariums in Nakhon Ratchasima province. Regional Health Promotion Center 9 Journal 2019; 13: 92-104.
Boonsin C. Prevalence of illegal online advertise ments among aesthetic medical clinics in Phetcha- bun province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022; 14: 415-23.
Announcement of the Department of Health Service Support regarding criteria, methods, conditions, and expenses for advertising or announcements related to hospitals, B.E. 2562. Royal Gazette No 136. Part 289D (special) (Nov 25, 2019).
Medical Council. Announcement No.50/2549 regarding prohibited words in advertising [online]. 2018 [cited Feb 16, 2024]. Available from: www.tmc. or.th/download/50_49.pdf.
Ministry of Public Health. Ministry of Public Health announcement regarding diseases or symptoms that are prohibited from advertising. Royal Gazette No 130. Part 37D (special) (Mar 22, 2013).
Ministry of Public Health. Ministry of Public Health announcement regarding diseases or symptoms prohibited from advertising as curable, alleviable, treatable, or preventable. Royal Gazette No 94 Part 13 (Feb 22, 1977).
Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part 101 special (Oct 20, 1967).
Food Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 79 special (May 13, 1979).
Medical Device Act, B.E. 2551. Royal Gazette No. 125, Part 43A (Mar 5, 2008)
Cosmetic Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (Sep 8, 2015).