การจัดกลุ่มยาในคลังเวชภัณฑ์ด้วยวิธี FSN Analysis ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

มารีย์ อินสม
นุศราพร เกษสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อจัดกลุ่มยาในคลังโดยประยุกต์ FSN analysis และดำเนินการปรับปรุงการจัดการคลังยา และ 2) เพื่อประเมินผลลัพธ์ในการดำเนินงานหลังการนำ FSN analysis มาใช้จัดกลุ่มยา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการที่แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน และทำซ้ำสองวงรอบ วงรอบละ 2 เดือน ขั้นตอนที่ 1 คือ การวางแผนดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 2 คือ การลงมือปฏิบัติ เริ่มจาก ก. การทดลองนำร่อง ข. การวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่ใช้ประกอบการแบ่งกลุ่ม FSN ได้แก่ ระยะเวลาการนำส่งสินค้า (lead time) สินค้าคงคลังขั้นต่ำ (safety stock) จุดสั่งซื้อใหม่ (re-order point) ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ (minimum order quantity) และจำนวนวันเก็บสินค้าคงคลัง (days on hand) ค.การแบ่งกลุ่มยาโดยใช้ FSN analysis เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ความถี่ในการจ่ายออกมาก (fast: F) กลุ่มที่ความถี่จ่ายออกปานกลาง (medium: M) กลุ่มที่ความถี่จ่ายออกช้า (slow: S) กลุ่มที่ความถี่จ่ายออกช้ามาก (very slow (V) และกลุ่มที่ไม่มีการจ่ายออกเลย (non-moving: N) ง. การกำหนดนโยบายการจัดการยาคงคลังในแต่ละกลุ่ม และ จ. การประเมินตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น มูลค่าคงคลัง อัตรายาขาดคราวของยาที่เกิดจากความผิดพลาดของการจัดซื้อ ขั้นตอนที่ 3 คือ  การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 4 คือ การสะท้อนกลับ โดยนำผลที่ได้มาสะท้อนกลับไปยังผู้ร่วมงาน และคณะผู้บริหารโรงพยาบาล ผลการศึกษา: มูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนของยาในกลุ่ม F, M, S, V และ N เท่ากับร้อยละ 29.06, 12.15, 17.74,  23.18, และ 17.87 ตามลำดับ มูลค่าคงคลังหลักที่ทำการวิจัยลดลง 994,076.04 บาท อัตราขาดคราวของยาคิดเป็นร้อยละ 0.07 ซึ่งไม่เกินเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนด คือ ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน สรุป: การจำแนกกลุ่มยาแบบ FSN analysis ร่วมกับการออกนโยบายการจัดการยาคงคลังที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม ช่วยลดอัตราการขาดคราวของยา ลดมูลค่าคงคลังและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Health System Institute. Thai drug system 2020. Thai National Board of Health System Institute, Ministry of Public Health; 2020.

Leelavethaphong C, Sotangkur K. Efficiency of inventory management; pharmacy department, Charoenkrung Pracharak Hospital. Journal of Charoenkrung Pracharak 2011; 2: 1-14.

Viboonsanti C, Kumprakorb U and Sirisa-ard P. Stock management of drug inventory control in the community pharmacy, Chiangmai University. Thai J Pharm Sci 2003; 27:139-48.

Kritchanchai D, Meesamut W. Developing inventory management in hospital. Int J Supply Chain Manag 2015; 4: 11-9.

May BI, Atkinson MP, Ferrer G. Applying inventory classification to a large inventory management system. J Oper Supply Chain Manag 2017; 10: 68-86.

Manivel P, Ranganathan R. Prioritized ABC-FSN analysis of inventory management in private and hospital pharmacy followed by questionnaire. Int Res J Pharm 2016; 7: 104-13.

Devarajana D, Jayamohan M. Stock control in a chemical firm: combined FSN and XYZ analysis. Procedia Tech 2016; 24: 562-7.

Nanthasena K. Application of Kanban system for managing pharmaceutical inventory at Kao Suan Kwang Hospital, Khonkaen province [master thesis]. Khonkaen: Khonkaen University; 2017.

Jungthawan S. Lean: Reducing business capital helps increase margin. Bangkok: Education Mind Line Multimedia; 2017.

Jitthananan K, Kessomboon N, Natsathaporn N. An application of value stream mapping for the improvement of pharmaceutical distributor process at Borabue Hospital, Mahasarakham province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2017; 13: 50-62.

Pandey D. A contextual investigation on inventory management utilizing selective control techniques in manufacturing organization. J Adv Schol Res Allied Educ 2017; 12: 695-702.

Nadkarni R, Ghewari A. An inventory control using ABC analysis and FSN analysis. Int J Eng Bus Enterp Appl 2016; 16: 24-8.

United States Agency for International Develop- ment. Monitoring and evaluation indicators for assessing logistics systems performance [online]. 2006 [cited Jan, 2022]. Available from: iaphl.org/wp-content/uploads/2016/05/M_E_indicators_hdbk.pdf

Voorley G. Mini guide to root cause analysis [online]. 2008 [cited Feb 9, 2021]. Available from: www.root-cause-analysis.co.uk/images/Green%20RCA%20mi ni%20guide%20v5%20small.pdf

Kemmis S. Action research as a practice-based prac tice. Educ Action Res 2009; 17: 463-74.

Anantachot P, Utsanakornkul J, Rattanavijitrasin S, Kanchanapiboon I, Ariyasophon T, Techakunwut S, et al Project on pilot implementation and assessment of key performance indicators for hospital pharmacy [online]. 2007 [cited Jan 19, 2022]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/643?locale-attribute=th.