การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับติดตามเอกสาร ณ ศูนย์บริการ ผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ไตรสิทธิ์ ชื่นปิติกุล
พีรยศ ภมรศิลปธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อติดตามเอกสารในศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม เพื่อให้สามารถติดตามและแสดงสถานะการดำเนินงานให้กับผู้มารับบริการได้ และสามารถดำเนินการได้สอดคล้องกับระบบเดิม วิธีการ: การศึกษาใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) เอชทีเอ็มแอล (HTML) จาวาสคริปต์ (JavaScript) และใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ PostgreSQL ในการพัฒนาระบบให้สามารถบันทึกข้อมูลสำหรับติดต่อกับผู้มารับบริการ สามารถค้นหาสถานะการดำเนินงาน และทำให้เจ้าหน้าสามารถปรับสถานะของขั้นตอนกระบวนงานได้ เว็บแอบพลิเคชันเริ่มใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2563 การศึกษาใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อแอปที่พัฒนาขึ้นใน 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้มารับบริการ จำนวน 346 ราย และกลุ่มเจ้าหน้าที่ จำนวน 15 ราย นอกจากนี้ยังประเมินจำนวนครั้งของการโทรศัพท์หรือการมาติดต่อด้วยตนเองเพื่อติดตามสถานะการดำเนินงาน ผลการวิจัย: กลุ่มผู้มารับบริการมีความพึงพอใจเฉลี่ยโดยภาพรวมของต่อระบบที่พัฒนาขึ้น 4.09±0.70 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 กลุ่มเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยโดยภาพรวม 4.13±0.74 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 จำนวนครั้งของการสอบถามทางโทรศัพท์หรือการมาติดต่อด้วยตนเองลดลงจากร้อยละ 20.93 ของจำนวนคำขอทั้งหมดในปี พ.ศ. 2562 เป็นร้อยละ 7.38 ของจำนวนคำขอทั้งหมดในปี พ.ศ. 2565 สรุป: การพัฒนาระบบดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับการทำงานด้วยกระบวนการเดิมของเจ้าหน้าที่ สามารถลดการสอบถามทางโทรศัพท์หรือการมาติดต่อด้วยตนเองเพื่อติดตามสถานะการดำเนินงาน ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ จึงมีความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fitriati R, Rahayu AS. Revitalization Jakarta One Stop Service Office as an effort to improve doing business rating in Indonesia. Am J Econ. 2013; 3: 7-11.

Nakhon-Pathom Provincial Public Health Office: One stop service center (OSSC) [online]. 2023 [cited Nov 25, 2023]. Available from: etrackingnpt.moph.go.th/ e-documents.

Food and Drug Administration (Thailand). Skynet. [online]. 2023 [cited Nov 25, 2023]. Available from: privus.fda.moph.go.th/.

Ruparelia NB. Software development lifecycle models. ACM SIGSOFT Softw. Eng. Notes 2010; 35: 8-13.

Adam SI, Andolo S. A new PHP web application development framework based on MVC architectural pattern and Ajax technology. 2019 first International conference on cybernetics and intelligent system (ICORIS). 2019 Aug 22-23; Bali, Indonesia; 2019. p. 45-50.

Prokofyeva N, Boltunova V, Analysis and practical application of PHP frameworks in development of web information systems. Procedia Comput Sci 2017; 104: 51-6.

Tripak D, Pamonsinlapatham P. Development of medical record query application for HOSxP, HoMC and Hospital OS for pharmaceutical care. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences. 2019; 14: 1-14.

Panayiotou NA, Stavrou VP. Government to business e-services – a systematic literature review. Gov Inf Q 2021; 38: 101576.

Serra LC, Carvalho LP, Ferreira LP, Vaz JBS, Freire AP. Accessibility evaluation of E-Government mobile applications in Brazil. Procedia Comput Sci 2015; 67: 348-57.

Puengsawad S, Kongprom S, Pongsetpisan T, Pattarateerakun N, Yamyim J, Suttirat S, et al. Development of an information system for patient tracking in the interprofessional education project. Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal 2018; 4: 7-19.

Attasopan P, Pamonsinlapatham P. Development and design of web application for handling medication errors information in hospital: concept and problem-solving using health-related informatics. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2022;14: 556-68.

Mezni H. Web service adaptation: A decade’s overview. Comput Sci Rev 2023; 48: 100535.