มูลค่าประหยัดจากการใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามราคาและวิเคราะห์ขีดความสามารถ ในการจัดซื้อยาของภาครัฐเพื่อต่อรองราคายาตามแผนการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลบางละมุง

Main Article Content

ปรัชญา พัชรวรกุลชัย
ศิรยุทธ พัฒนโสภณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์มูลค่าประหยัดที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามราคาและวิเคราะห์ขีดความสามารถในการจัดซื้อยาของภาครัฐ (Pharmaceutical Acquisition Capability-Decision Support System; PAC-DSS) เพื่อต่อรองราคาในการจัดซื้อยาตามแผนจัดซื้อของโรงพยาบาลบางละมุงในปีงบประมาณ 2566 วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางโดยนำข้อมูลจากการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาจากรายงานในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่างปีงบประมาณ 2562 – 2564  จำนวนทั้งสิ้น 198 รายการ มาตัดรายการยาต่อไปนี้ 1) รายการยาที่ซ้ำในแต่ละปีงบประมาณ 2) รายการยาที่โรงพยาบาลมีความสามารถในการจัดหายาได้ในราคาที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยอยู่แล้ว และ 3) รายการยาที่ซื้อจากหน่วยงานภาครัฐที่ไม่สามารถต่อรองได้ ทั้งนี้ รายการยาที่ศึกษาต้องอยู่ในรายการแผนจัดซื้อยาของปีงบประมาณ 2566 ยาที่ผ่านการคัดเลือกมีจำนวนทั้งสิ้น 51 รายการ ซึ่งได้รับการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการจัดซื้อยาตามแนวคิดการวัดกำลังความสามารถการจัดหายาจากข้อมูลการจัดซื้อยา (pharmaceutical acquisition capability: PAC) และหาราคาแนะนำในการจัดซื้อจากระบบ PAC-DSS โรงพยาบาลนำราคาดังกล่าวไปต่อรองกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายตามแผนงบประมาณปี 2566 และคำนวณมูลค่าที่ประหยัดได้ ผลการวิจัย: ผู้จัดซื้อมีความไวในการรับรู้ราคาและสามารถต่อรองได้ไม่เกินราคาที่ระบบ PAC-DSS แนะนำจำนวน 17 รายการในปีงบประมาณ 2565 ผลจากการใช้ราคาแนะนำจากระบบ PAC-DSS มาใช้ในการต่อรองราคายาในปีงบประมาณ 2566 พบว่าสามารถต่อรองราคาลดลงได้ทั้งสิ้น 18 รายการ มูลค่าจัดซื้อตามแผนจัดซื้อของปีงบประมาณ 2566 เท่ากับ 14,989,783 บาท และมูลค่าการจัดซื้อยาที่ต่อรองได้จากแนวคิด PAC มีมูลค่าจัดซื้อเท่ากับ 13,270,244 บาท ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้ 1,719,540 บาท หรือร้อยละ 11.47 ของแผนจัดซื้อยาปีงบประมาณ 2566 ของรายการยา 18 รายการที่ต่อรองได้ สรุป: การนำระบบ PAC-DSS มาใช้สนับสนุนในการปฏิบัติงานจัดซื้อยา สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบางละมุงได้ ด้วยความสามารถของระบบที่สามารถสะท้อนราคาอ้างอิงที่เหมาะสมซึ่งเป็นประโยชน์ในการต่อรองราคากับผู้จำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากนำระบบไปใช้อย่างแพร่หลายในหน่วยงานภาครัฐจะทำให้สามารถควบคุมการกระจายของราคายา ทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อยาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

McQueen RB, Anderson KE, Levy JF, Carlson JJ. Incorporating dynamic pricing in cost-effectiveness analysis: are known unknowns valuable? Pharmaco economics 2023; 41: 321-7.

Udomaksorn S, Sakubumrungsil R. Miscellaneous acquisition capability approach for drug price behavior monitoring [online]. 2014 [cited Nov 5, 2023]. Available from: dmsic.moph.go.th/index/detail /3899.

Udomaksorn S. Characterization of discriminating induced pharmaceutical price dispersion [disserta- tion]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2005.

The Comptroller General's Department. Report on medicine purchases of government agencies for the management and analysis of drug inventories, and the pricing of pharmaceutical drug references in the electronic government procurement system (e-GP). Bangkok: Ministry of Finance; 2020.

Sakulbumrungsil R, Kessomboon N, Udomaksorn S, Kanchanapiboon I, Luangruangrong P. PAC-DSS: Pharmaceutical acquisition capability decision support system. Nonthaburi: The Graphico Systems; 2013.

Udomaksorn S, Sakulbumrungsil R, Kessomboon N, Luangruangrong P, Kanchanapiboon I. Improving drug acquisition in public hospitals using the pharma ceutical acquisition capability (PAC) approach. J Health Syst Res. 2012; 6: 476-85.