ผลของการใช้แอปพลิเคชัน Sisaket Pharmacy Network ในการบริการเภสัชกรรมทางไกล ของเครือข่ายโรงพยาบาลและร้านยาชุมชนอบอุ่นในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

รวิวรรณ ฉลาดล้ำ
นุศราพร เกษสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการใช้แอปพลิเคชัน Sisaket Pharmacy Network (แอปพลิเคชันฯ) ที่พัฒนาขึ้นในการบริการเภสัชกรรมทางไกลของเครือข่ายโรงพยาบาลและร้านยาชุมชนอบอุ่นในจังหวัดศรีสะเกษ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เก็บข้อมูล 3 เดือนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึง สิงหาคม พ.ศ. 2566 ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจำนวน 164 คนที่รับบริการผ่านแอปพลิเคชันฯ ที่ช่วยให้เภสัชกรโรงพยาบาลและเภสัชกรร้านสามารถให้คำแนะนำด้านยาก่อนและหลังผู้ป่วยรับบริการเภสัชกรรมทางไกล ตลอดจน ติดตามปัญหาจากการใช้ยา (drug related problems: DRPs) และผลข้างเคียงที่เกิดจากยา ผลลัพธ์ที่ศึกษา ได้แก่ DRPs ที่พบก่อนการรับบริการเภสัชกรรมทางไกลที่ประเมินโดยเภสัชกรโรงพยาบาลศรีสะเกษ DRPs ที่พบหลังรับการบริการเภสัชกรรมทางไกลซึ่งประเมินโดยเภสัชกรรร้านยาใน 14 วันถัดมา และความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการบริการเภสัชกรรมทางไกล ซึ่งประเมินหลังผู้ป่วยรับยาทางไปรษณีย์ ผลการวิจัย : ก่อนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล พบ DRPs 46 ปัญหาในผู้ป่วย 46 ราย (ร้อยละ 28.05) DRPs ที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรก คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 80.43 ของ DRPs ทั้งหมด) รองลงมา คือ ผู้ป่วยได้รับยาไม่ครบตามที่แพทย์สั่ง (ร้อยละ 4.35 ของ DRPs ทั้งหมด) การซื้อยารับประทานเอง (ร้อยละ 4.35 ของ DRPs ทั้งหมด) และอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น (ร้อยละ 4.35 ของ DRPs ทั้งหมด) การติดตาม DRPs พบว่า DRPs ได้รับการแก้ไข 44 ปัญหา (ร้อยละ 95.65) DRPs ที่พบในขั้นตอนการให้คำแนะนำหลังรับบริการเภสัชกรรมทางไกลมีจำนวน 8 ปัญหา DRPs ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผู้ป่วยได้รับยาช้ากว่าปกติ/ลงวันนัดในระบบผิด (2 ปัญหา) ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (2 ปัญหา) และอาการของโรคไม่ดีขึ้น (2 ปัญหา) DRPs ทั้งหมดได้รับติดตามและแก้ไข ส่วน DRPs ที่พบในผู้ป่วยของคลินิกจิตเวชในช่วงก่อนรับบริการเภสัชกรรมทางไกลมี 23 ปัญหา DRPs ที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรก คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ (ร้อยละ 80.43 ของ DRPs ในคลินิกจิตเวชทั้งหมด) รองลงมา คือ การได้รับยาไม่ครบจำนวน (ร้อยละ 4.35) การซื้อยาชนิดอื่นรับประทานเอง (ร้อยละ 4.35) และอาการของโรคไม่ดีขึ้น (ร้อยละ 4.35) DRPs ทั้งหมดได้รับการติดตามโดยเภสัชกร DRPs ที่พบหลังรับบริการพบ DRPs 5 ครั้งโดยเป็นความไม่ร่วมมือในการใช้ยา 2 ปัญหา ความพึงพอใจในการรับบริการเภสัชกรรมทางไกลโดยผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยที่ 3.80±0.44 (จากคะแนนเต็ม 4) สรุป : แอปพลิเคชัน Sisaket Pharmacy network สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามความปลอดภัยด้านยาให้แก่ผู้ป่วยและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและร้านยาในเครือข่ายได้ แอปพลิเคชันฯ นี้สามารถเพิ่มบทบาททางวิชาชีพของเภสัชกรชุมชมได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Pharmacy Council. Telepharmacy: Guideline [online]. 2020 [cited May 28, 2023]. Available form: pharmacy council.org/share/file/file_5928.telepharmacy62-2565 Telepharmacy.PDF.

Limpananont J, Kittiwongsoontorn W, Sakulbamroon gsin R, Thantayothin W, Sripanitchakulchai K, Kes somboon N, et al. Development of telepharmacy practice guideline in Thailand. Bangkok. Health Systems Research Institute; 2021. p. 103-07.

Thananithisak C, Angkabsuwan S, Pongwilairat M, Survey of preference for prescription refilling options in patients with chronic diseases. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 504-14.

Lertsinudom S, Moongmanitmongkol S, Penphinan S, Ruengrattana P, Kawkettong P, Rattanapan Ch, et al. System design of telepharmacy service in new normal of hospital and drugstore in regional health 7. Bangkok. Health Systems Research Institute; 2022. p. 74-77.

Healthtechthailand. 5 Application online [online]. 2023. [cited Sep 30, 2023]. Available from: shorturl.asia/Lh BQT.

Chaladlam R, Kessomboon N. Designing the Siasa ket telepharmacy network application. Thai Journal of Pharmacy Practice 2024; 16: 1057-68.

Kitpaiboontawee S. Pharmaceutical care in general ward at middle-level hospital. Region 11 Medical Journal 2017; 31: 371-73.

Asseri A, Manna M, Yasin I, Moustafa M, Roubie G, El-Anssay S, et al. Implementation and evaluation of telepharmacy during COVID-19 pandemic in an academic medical city in the Kingdom of Saudi Arabia: Paving the way for telepharmacy. World J Adv Res Rev 2020; 7: 218–26.

Crosby LE, Ware RE, Goldstein A, Walton A, Joffe NE, Vogel C, Britto MT. Development and evaluation of iManage: A self-management app co-designed by adolescents with sickle cell disease. Pediatr Blood Cancer 2017; 64: 139-45.

Hightow-Weidman L, Muessig K, Knudtson K, Sri- vatsa M, Lawrence E, LeGrand S, Hotten A, Hosek S. A gamified smartphone app to support engage ment in care and medication adherence for HIV-positive young men who have sex with men (Ally Quest): Development and pilot study. JMIR Public Health Surveill 2018; 4: e34. doi: 10.2196/pub lichealt h.8923.

Habib B, Buckeridge D, Bustillo M, Marquez SN, Thakur M, Tran T, Weir DL, Tamblyn R. Smart About Meds (SAM): a pilot randomized controlled trial of a mobile application to improve medication adherence following hospital discharge. JAMIA Open 2021; 4: ooab050. doi: 10.1093/jamiaopen/ooab050.

Sangchan P, Thananithisak C. The application development for smoking cessation services by community pharmacists. Srinagarind Medical Journal 2018; 33: 169-75.