คุณลักษณะของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตและบัณฑิตเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ปวิตรา พูลบุตร
กฤษณี สระมุณี
วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม
อารีรัตน์ ลีละธนาฤกษ์
พรชนก ศรีมงคล
สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์
อรกัญญา กาลพันธา
วราพร ภูนาสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบสอบถามในการวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนิสิตและบัณฑิตเภสัชศาสตร์ ฉบับภาษาไทย และเพื่อวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตและบัณฑิตเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิธีการ: ผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถามวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตฉบับภาษาไทย จากแบบสอบถาม Jefferson Scale of Lifelong Learning-Health Professions Students Version (JeffSLL-HPS) ด้วยวิธีการแปลไปข้างหน้าพร้อมกับการทดสอบความตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่น ได้คำถามจำนวน 11 ข้อ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเชื่อและแรงจูงใจในการเรียนรู้ ความสนใจต่อโอกาสในการเรียนรู้ และทักษะทางเทคนิคในการหาข้อมูล แบบสอบถามมีมาตรวัดแบบ Likert scale 4 ระดับ (1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง, 4 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นทางออนไลน์ในนิสิตเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-6 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และบัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัย: แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา จำนวน 3 ท่านและมีความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายในในระดับยอมรับได้ (ค่า Cronbach’s alpha = 0.84) ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วยนิสิตเภสัชศาสตร์จำนวน 560 คนจากทั้งหมด 562 คน (ร้อยละ 99.64) และบัณฑิตเภสัชศาสตร์จำนวน 63 คนจากทั้งหมด 95 คน (ร้อยละ 66.31) นิสิตชั้นปีที่ 5 และชั้นปีที่ 6 มีคะแนนรวมเฉลี่ยสูงกว่าชั้นปีที่ 1-4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ส่วนบัณฑิตเภสัชศาสตร์มีคะแนนรวมเฉลี่ยไม่แตกต่างจากนิสิตชั้นปีที่ 6 ทั้งนิสิตและบัณฑิตเภสัชศาสตร์มีคะแนนมากที่สุดในองค์ประกอบความเชื่อและแรงจูงใจในการเรียนรู้ องค์ประกอบที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือ ความสนใจต่อโอกาสในการเรียนรู้ สรุป: งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบสอบถามวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตและบัณฑิตเภสัชศาสตร์ฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ข้อมูลที่ได้บ่งบอกถึงคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตและบัณฑิตเภสัชศาสตร์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่เสมอ ทั้งนี้ควรมีการติดตามคุณลักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระยะยาวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiya S. The developing lifelong learning skills of students in the 21st Century. Srinakharinwirot Academic Journal of Education 2019; 20: 168-80.

Babenko O, Koppula S, Daniels L, Nadon L, Daniels V. Lifelong learning along the education and career continuum: meta-analysis of studies in health professions. J Adv Med Educ Prof 2017; 5: 157–63.

Suwannaprom P, Suttajit S, Eakanunkul S, Supapaan T, Kessomboon N, Udomaksorn K, et al. Develop- ment of pharmacy competency framework for the changing demands of Thailand’s pharmaceutical and health services. Pharm Pract 2020; 18: 2141. doi:10. 18549/PharmPract.2020.4.2141.

Novak M, Palladino C, Ange B, Richardson D. Jefferson Scale of Lifelong Learning-Health Professions Students Version (JeffSLL-HPS): an instrument to measure health professions students' orientation toward lifelong learning [online]. 2014 [cited Oct 10, 2021]. Available from: doi.org/10.1576 6/mep_2374-8265.9671

Li H, Wang Z, Jiang N, Liu Y, Wen D. Lifelong learning of Chinese rural physicians: preliminary psychometrics and influencing factors. BMC Med Educ 2015; 15: 192. doi:10.1186/s12909-015-0460-9.

Mi M, Riley-Doucet C. Health professions students’ lifelong learning orientation: associations with information skills and self-efficacy. Evid Based Libr Inf Pract 2016; 11: 121–35.

Pongsathonviboon K. Development of life-long learning assessment form for students of the Kuea Karun Faculty of Nursing, Bangkok Metropolis University. Thai Journal of Nursing Council 2013; 28: 43-54.

Meehanpong P, Chatdokmaiprai K. Assessing quality research instrument in nursing research. Journal of the Royal Thai Army Nurses 2018; 19: 9-15.

Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach’s alpha. Int J Med Educ 2011; 2: 53-5.

Maneesriwongkul W, Dixon JK. Instrument transla- tion process: a method review. J Adv Nurs 2004; 48: 175-86.

Berdie DR, Anderson JF, Niebuhr MA. Question- naires: design and use. 2nd ed. New Jersey: Scarecrow Press; 1986.

Hirunchunha S, Bunkong S, Phumdoung S, Boon- young N, Sangchan H. Lifelong learning competency of nursing students, supporting and obstacle factors related to lifelong learning competency development. Songklanagarind Journal of Nursing 2021; 41: 38-49.

Suwannoi P. Research-based learning manage- ment: development towards a research university. KKU Journal of Education 2006; 29: 16-26.