ผลของการพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในโดยเภสัชกรในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Main Article Content

เพียงใจ เกียรติธนวัฒนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยใน โดยเพิ่มขั้นตอนการประเมินและวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาโดยเภสัชกร ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดและจ่ายยา และเพื่อประเมินอัตราและระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาที่เภสัชกรสามารถตรวจจับได้ก่อนและหลังพัฒนาระบบฯ วิธีการ: งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ปัญหาและการพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยใน 2. การดำเนินการพัฒนาระบบและกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน 3. การพัฒนาบุคลากรและโปรแกรมทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในเพื่อรองรับการขยายระบบ และ 4. การปรับขั้นตอนการทบทวนคำสั่งใช้ยาให้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการทำงาน ผลการวิจัย: เภสัชกรสามารถตรวจจับความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 1.58 ครั้งต่อ 1000 วันนอน เป็น 4.32 ครั้งต่อ 1000 วันนอนในระยะแรกของการพัฒนาระบบฯ และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 5 เท่า เมื่อมีการขยายระบบทบทวนคำสั่งใช้ยามากขึ้นจนครอบคลุมใบสั่งยาผู้ป่วยในทุกใบ ประเภทของความคลาดเคลื่อนที่เภสัชกรสามารถตรวจจับได้ 3 อันดับแรก คือ การสั่งขนาดยาผิด การสั่งวิธีการใช้ยาผิด/ไม่ระบุ/ไม่ชัดเจน/ไม่สมบูรณ์ และการสั่งยาที่ผู้ป่วยเคยแพ้หรือเสี่ยงต่อการแพ้สูง ในช่วงหลังพัฒนาระบบ เภสัชกรสามารถป้องกันความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาไม่ให้ถึงผู้ป่วย (ระดับ B) ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 79.90 เป็นประมาณร้อยละ 87 - 95 สรุป: การพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในโดยมีเภสัชกรทำหน้าที่คัดกรองและประเมินความเหมาะสมก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดและจ่ายยา ทำให้เภสัชกรสามารถตรวจจับความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้เพิ่มขึ้น และสามารถป้องกันไม่ให้ความคลาดเคลื่อนถึงผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. What is a medication error? [online]. 2021 [cited Sep 7, 2023]. Available from: www.nccmerp.org/about-medication-errors.

Makary MA, Daniel M. Medical error-the third leading cause of death in the US. BMJ. 2016; 353: i2139. doi: 10.1136/bmj.i2139.

Aseeri M, Banasser G, Baduhduh O, Baksh S, Ghalibi N. Evaluation of medication error incident reports at a tertiary care hospital. Pharmacy 2020; 8: 69.

Tariq, R., Vashisht, R., Sinha, A. and Scherbak, Y. Medication dispensing errors and prevention [online]. 2022 [cited Sep 7, 2023]. Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519065/

Rodziewicz TL, Houseman B, Hipskind JE. Medical error reduction and prevention [online]. 2021 [cited Sep 7, 2023]. Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov /books/NBK499956/

Kuo GM, Touchette DR, Marinac JS. Drug errors and related interventions reported by United States clinical pharmacists: the American College of Clinical Pharmacy practice-based research network medication error detection, amelioration and prevention study. Pharmacotherapy 2013; 33: 253-65.

Rattanadetsakul C, Rattanadetsakul P. Pharmacists and the process of reviewing drug orders [online]. 2018 [cited Sep 9, 2023]. Available from: ccpe.phar macycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=779

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organi- zation). Hospital and healthcare standards, 5th edition. [online]. 2022 [cited Sep 7, 2023]. Available from: backend.ha.or.th/fileupload/DOCUMENT/001 48/77c77e3f-ed2f-41a9-90d4-22164a69a871.pdf

Pharmaceutical Services Division, Ministry of Health Malaysia. Guide to good dispensing practice 2016 [online]. 2016 [cited Sep 9, 2023]. Available from: apps.who.int/medicinedocs/documents/s19607en/s19607en.pdf

Sukhanon N, Srimaphol W, Wongkhrut M, Kongnil N, Thongsri N, Supapaan T. Development of a prescription screening system for reducing medica- tion error in an in-patient department, Sunpasitthi prasong Hospital, Ubon Ratchathani Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2021; 17: 25-38.

Prompanjai K, Nakburin R, Ngamtin C. Development of the system for screening and analysis of prescriptions of inpatients, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Journal of Health Science 2016; 25: 446-55.

Bobb A, Gleason K, Husch M, Feinglass J, Yarnold PR, Noskin GA. The epidemiology of prescribing errors: The potential impact of computerized prescriber order entry. Arch Intern Med 2004; 164: 785-92.

Lewis PJ, Dornan T, Taylor D, Tully MP, Wass V, Ashcroft DM. Prevalence, incidence and nature of prescribing errors in hospital inpatients: A systematic review. Drug Saf 2009; 32: 379-89.

Chantapattarankul P. Medication error of in-patients pharmacy department at bangsaphan hospital, prachuap kirhikhan. Hua Hin Sook Jai Klai Kang won Journal 2017; 2: 17-22.

Manias E, Kusljic S. Interventions to reduce medication errors in adult medical and surgical settings: A systematic review. Ther Adv Drug Saf. 2020; 11: 2042098620968309. doi: 10.1177/20420 98620968309.