ผลของการพัฒนาระบบการจัดการด้านยาของแผนกผู้ป่วยในต่อ ความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านยาของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา (prescribing error: PE) และความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา (pre-dispensing error: PDE) ในช่วงก่อนและหลังพัฒนาระบบการจัดการด้านยา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาระหว่างช่วงก่อนการพัฒนาระบบ (มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 รวมเวลา 9 เดือน) และช่วงหลังการพัฒนาระบบ (ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมิถุนายน พ.ศ.2566 รวมเวลา 9 เดือน) ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผนประกอบด้วย ก) การรวบรวมข้อมูลทั่วไปของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน ขั้นตอนในการปฏิบัติงานของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน รวมทั้งข้อมูล PE และ PDE ก่อนพัฒนาระบบ ข) การวิเคราะห์ข้อมูล PE และ PDE ในช่วงก่อนพัฒนาระบบ และ ค) การกำหนดกระบวนการพัฒนาระบบการจัดการด้านยา 2) ขั้นการปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาระบบในวงล้อที่ 1 ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2565 3) ขั้นการสังเกตการณ์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมผลการดำเนินงานหลังพัฒนาระบบในวงล้อที่ 1 ได้แก่ กระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้พัฒนาระบบ ข้อมูล PE และ PDE 4) ขั้นการสะท้อนผลการปฏิบัติและการปรับปรุงแผน ประกอบด้วย ก) การประเมินผลการดำเนินงานหลังพัฒนาระบบวงล้อที่ 1 ข) การปรับปรุงแผนเพื่อดำเนินการต่อในวงล้อที่ 2 ตั้งแต่มกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2566 และวงล้อที่ 3 ตั้งแต่เมษายนถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 และ ค) การประเมินผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบ PE และ PDE ระหว่างก่อนและหลังพัฒนาระบบ ผลการวิจัย: กระบวนการในการพัฒนาระบบการจัดการด้านยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา ได้แก่ 1. การประชุมและสร้างการมีส่วนร่วมจากการประชุมระดับต่าง ๆ คือการประชุม IPD talk โดยเจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยในทุกคน การประชุมคณะทำงานความคลาดเคลื่อนทางยาโดยตัวแทนของทุกหอผู้ป่วย และการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดโดยผู้บริหาร เพื่อสร้างความรู้/ความเข้าใจในการแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยา 2. การพัฒนาระบบในเก็บรวบรวมและรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา 3. การปรับตารางการปฏิบัติงานประจำวันของเภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม และพนักงานประจำห้องยา 4. การพัฒนาระบบการคัดกรองใบสั่งยา 5. การประสานรายการยา 6. การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และ 7. การกำหนดมาตรการในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา หลังการพัฒนาระบบสามารถดักจับและแก้ไข PE ได้มากกว่าก่อนพัฒนาระบบ โดยค้นพบ PE เพิ่มขึ้นจาก 2.41 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน เป็น 4.61 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน (P<0.001) หลังพัฒนาระบบพบว่า PDE ลดลงจาก 13.95 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน เหลือ 9.97 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน (P=0.022) สรุป: หลังการพัฒนาระบบการจัดการด้านยา เภสัชกรสามารถดักจับและแก้ไข PE ได้มากกว่าก่อนพัฒนาระบบการจัดการด้านยา และ PDE มีอัตราที่ลดลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Warachun W. Drug management system in quality hospitals [online]. 2017 [cited Jul 1, 2023]. Available from: ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=a rticle_detail&subpage=article_detail&id=309
National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. What is a medication error? [online]. 2023 [cited Jul 1, 2023]. Available from: www.nccmerp.org/about-medication-errors.
Thiwthanom K, Thananonniwat S. Medication error and prevention guide for patient’s safety. Veridian E-Journal Silpakorn University. 2009; 2: 195-217.
Ningsanon T. Basic framework for medicine systems. Bangkok: Hospital Pharmacy Association (Thailand); 2020.
Healthcare Quality Accreditation Institute (Public Organization). Hospital and health service standards. 5th Ed. Bangkok: Healthcare Accredita- tion Institute. (Public Organization); 2022.
Wadudom J. Development of a pre-dispensing system in inpatient pharmacy services to reduce medication error. Thai Journal of Clinical Pharmacy 2020; 26: 1-15.
Aungsathammarat A, Jewsuebpong A. Development of pre-dispensing system in outpatient department at Sawanpracharak Hospital, Nakhonsawan Province Srinagarind Medical Journal 2022; 37: 667-76.
Sukhanon N, Srimaphol W, Wongkhrut M, Kongnil N, Thongsri N, Supapaan T. Development of a prescrip tion screening system for reducing medication error in an in-patient department, Sunpasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 2022; 17: 25-38.
Manias E, Williams A, Liew D. Interventions to reduce medication errors in adult intensive care: a systematic review. Br J Clin Pharmacol. 2012; 74: 411-23. DOI:10.1111/j.1365-2125.2012.04220.x
Manias E, Kusljic S, Wu A. Interventions to reduce medication errors in adult medical and surgical settings: a systematic review. Ther Adv Drug Saf 2020; 11: 2042098620968309. doi: 10.1177/204209 8620968309.
Kemmis S, McTaggart R. Participatory action research and the public sphere. In: Denzin N, Lincoln Y, editors. The Sage handbook of qualitative research. California: Sage; 2005. p. 559–603.
Chatakarn W. Action research. Academic Journal Wicha Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 2010; 29: 1-7.
Saramunee K. Conducting action research for the development of pharmaceutical services [online]. 2018 [cited Jul 1, 2023]. Available from: ccpe.phar macycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=583
Siriluck L, Bualoy P. Prevalence and characteristics of drug prescribing errors in discharged patients of a tertiary hospital in 2014. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 58-67.
Chanatepaporn P. Development of prescribing error program for reporting in Srinagarind Hospital. Srina garind Medical Journal 2019; 34: 261-70.
Pattanakriangkrai P, Thungwilai W, Pamonsinlapa tham P. Outcomes of the improvements of medica- tion reconciliation process by multidisciplinary health team: case study at internal medicine ward 1, Sawanpracharak Hospital, Nakhon Sawan Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022; 14: 887-900.
Songkramsri S, Laopaiboon M. Computerized prescribing system for reducing prescription errors in Nonghan Hospital, Udonthani Province; Interrupted time series design. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 2017; 13: 53-66.
Maneeon S. Determination of medication error in providing pharmaceutical services in a tertiary care hospital in Bangkok. Thai Journal of Pharmacy Practice 2023; 15: 460-67.
Phromkhot C, Rattanamahattana M. Development and evaluation of a hospital medication reconcilia- tion process: a case study for diabetic in-patient service at a mid-level general Hospital in the Northeast Region. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2017; 13: 49-58.
Suthapradit C, Sakunrag I. Development of computerized drug allergy alert system combined with management of drug allergy database at a hospital in Samutsakhon. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2019; 11: 431-44.
Doungngern T, Nusawat C, Sakulwach S. Understanding of the prescription of high alert drugs in numerical ratio format among nurses and their calculations for preparation of the prescribed drugs. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 128-38.