ประสิทธิผลของเจลทำความสะอาดผสมสารสกัดรากกวาวเครือขาวในการดูแลอวัยวะเพศภายนอก ของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะปากช่องคลอดและช่องคลอดฝ่อแห้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของเจลทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกผสมสมุนไพรสารสกัดรากกวาวเครือขาวในการดูแลอวัยวะเพศภายนอกของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะปากช่องคลอดและช่องคลอดฝ่อแห้ง วิธีการ: การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมปกปิดแบบสองทาง กลุ่มตัวอย่าง 72 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มจำนวนเท่ากัน คือ กลุ่มทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ผสมสารสกัดรากกวาวเครือขาวและว่านหางจระเข้ ในขนาดกวาวเครือดิบ 20 มิลลิกรัมต่อวันและกลุ่มควบคุมใช้ผลิตภัณฑ์ผสมว่านหางจระเข้ ทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผู้วิจัยสัมภาษณ์อาสาสมัครแบบตัวต่อตัวเพื่อประเมินภาวะปากช่องคลอดและช่องคลอดฝ่อแห้งในช่วงก่อนเริ่มศึกษาและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์สัปดาห์ที่ 4 และ12 ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดการศึกษา ภาวะปากช่องคลอดและช่องคลอดฝ่อแห้ง ได้แก่ สภาพผิวแห้งและรอยแดงบริเวณอวัยวะเพศภายนอก อาการแห้ง อาการแสบคัน และอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ของอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ลดลงเมื่อเทียบกับระดับที่ประเมินก่อนเริ่มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ปัญหาสภาพผิวและอาการจากภาวะปากช่องคลอดและช่องคลอดฝ่อแห้งของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ยกเว้นการลดลงของอาการเจ็บปวดในช่องคลอดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.10) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม มีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ และพบอาการข้างเคียง คือ ระคายเคืองเล็กน้อยขณะฟอก สรุป: การใช้เจลทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกผสมสารสกัดรากกวาวเครือขาวและว่านหางจระเข้ ในขนาดกวาวเครือดิบ 20 มิลลิกรัมต่อวัน มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการดูแลสภาพผิวอวัยวะเพศภายนอกและลดอาการจากภาวะปากช่องคลอดและช่องคลอดฝ่อแห้งของสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ดีกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกวาวเครือขาว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Alvisi S, Gava G, Orsili I, Giacomelli G, Baldassarre M, Seracchioli R, et al. Vaginal health in menopausal women. Medicina 2019; 55: 615.
Suwanrattanadech S, Lertbunnaphong T, Boriboonhi runsarn D. Use of feminine hygiene products in Thai women. Siriraj Med J 2011; 63: 111–4.
Nappi RE, Palacios S, Panay N, Particco M, Krychman ML. Vulvar and vaginal atrophy in four European countries: evidence from the European REVIVE Survey. Climacteric 2016; 19: 188–97.
Choombuathong A. Pueraria mirifica: Queen of Thai herb. Journal of Science and Technology Mahasara kham University 2014; 34: 202–9.
Chattuwatthana T, Okello E. Anti-collagenase, anti-elastase and antioxidant activities of Pueraria candollei var. mirifica root extract and Coccinia grandis fruit juice extract: An in vitro study. Eur J Med Plants 2014; 318–27.
Chandeying V, Lamlertkittikul S. Challenges in the conduct of Thai herbal scientific study: efficacy and safety of phytoestrogen, Pueraria mirifica (Kwao Keur Kao), phase I, in the alleviation of climacteric symptoms in perimenopausal women. J Med Assoc Thai 2007; 90: 1274–80.
Lamlertkittikul S, Chandeying V. Efficacy and safety of Pueraria mirifica (Kwao Kruea Khao) for the treatment of vasomotor symptoms in perimeno pausal women: Phase II Study. J Med Assoc Thai 2004; 87: 33–40.
Virojchaiwong P, Suvithayasiri V, Itharat A. Compa- rison of Pueraria mirifica 25 and 50 mg for menopausal symptoms. Arch Gynecol Obstet 2011; 284: 411–9.
Chandeying V, Sangthawan M. Efficacy comparison of Pueraria mirifica (PM) against conjugated equine estrogen (CEE) with/without medroxyprogesterone acetate (MPA) in the treatment of climacteric symptoms in perimenopausal women: phase III study. J Med Assoc Thai 2007; 90: 1720–6.
Manonai J, Chittacharoen A, Theppisai U, Theppisai H. Effect of Pueraria mirifica on vaginal health. Menopause 2007; 14: 919–24.
Suwanvesh N, Manonai J, Sophonsritsuk A, Cherd shewasart W. Comparison of Pueraria mirifica gel and conjugated equine estrogen cream effects on vaginal health in postmenopausal women. Menopause 2017; 24: 210–5.
Poordast T, Ghaedian L, Ghaedian L, Najib FS, Alipour S, Hosseinzadeh M, et al. Aloe Vera; A new treatment for atrophic vaginitis, A randomized double-blinded controlled trial. J Ethnopharmacol 2021; 270: 113760.
Jenkins A, Money D, O’Doherty KC. Is the vaginal cleansing product industry causing harm to women? [editorial] Expert Rev Anti Infect Ther 2021; 19: 267–9.
Bruning E, Chen Y, McCue KA, Rubino JR, Wilkin son JE, Brown ADG. A 28 day clinical assessment of a lactic acid-containing antimicrobial intimate gel wash formulation on skin tolerance and impact on the vulvar microbiome. Antibiotics (Basel) 2020; 9: 55.
Fleiss JL, Levin B, Paik MC. Statistical methods for rates and proportions. 3rd ed. Hoboken, NJ: John Wiley; 2003.
Rosner B. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Pacific Grove, CA: Duxbury; 2000.
Sinnithithaworn N, Salung L, Pratipannawat S. Efficacy of low-dose (0.3 mg) conjugated estrogen cream for managing atrophic vaginitis. Thai J. Obstet. Gynaecol 2013; 21: 182–9.
Ungphaiboon S, Duangkhae M, Sungkharak S. Development of feminine hygiene wash gel containing Pueraria mirifica root extract [independent study]. Songkhla: Faculty of Pharmaceutical Sciences, Prince of Songkla University; 2019.
Ettinger B, Hait H, Reape KZ, Shu H. Measuring symptom relief in studies of vaginal and vulvar atrophy: the most bothersome symptom approach. Menopause 2008; 15: 885–9.
Eaton AA, Baser RE, Seidel B, Stabile C, Canty JP, Goldfrank DJ, et al. Validation of clinical tools for vaginal and vulvar symptom assessment in cancer patients and survivors. J Sex Med 2017; 14: 144–51.
Kingston A. The postmenopausal vulva. Obstet Gynaecol 2009; 11: 253–9.
Thai Food and Drug Administration. Manual for using the National List of Essential Medicines for Herbs B.E. 2564. Phra Nakhon Si Ayutthaya, Thailand: Greatest Company; 2022.
Chen Y, Bruning E, Rubino J, Eder SE. Role of female intimate hygiene in vulvovaginal health: Global hygiene practices and product usage. Women’s Health 2017; 13: 58–67.
Thai Food and Drug Administration. Criteria for considering notification of cosmetics (revised version B.E. 2564) [online]. 2021 [cited Aug 29, 2023]. Available from: cosmetic.fda.moph.go.th/permission-for-cosmetics/category/criteria-for-considering.