การสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเกี่ยวกับสมรรถนะ ที่ควรใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล

Main Article Content

ปิยะเนตร พรสินศิริรักษ์
อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเกี่ยวกับสมรรถนะที่ควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข วิธีการ: ระยะที่ 1 ใช้เทคนิคเดลฟายในผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คนเพื่อสร้างแบบสอบถามที่ระบุสมรรถนะที่ควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล ระยะที่ 2 เป็นการส่งแบบสอบถามที่ได้จากระยะที่ 1 ทางไปรษณีย์ไปยังหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง จำนวน 901 คนเพื่อสำรวจความเห็นด้วยต่อสมรรถนะที่ควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล ผลการวิจัย: ตัวอย่างตอบกลับ 333 คน (ร้อยละ 37.0) ในสมรรถนะร่วมจำนวน 10 สมรรถนะมี 9 สมรรถนะที่หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเห็นด้วยว่าควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล (คะแนนเฉลี่ยของความเห็นด้วยมากกว่า 4.0 จากคะแนนเต็ม 5) เช่น ด้านวิชาชีพ คุณธรรม จรรยาบรรณ การบริการที่ดี การทำงานเป็นทีมและการสร้างสัมพันธภาพ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสื่อสาร ส่วนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสมรรถนะร่วมที่มีคะแนนความเห็นด้วยน้อยกว่าสมรรถนะร่วมอื่น ๆ (3.78±0.67 จากคะแนนเต็ม 5) สมรรถนะสาขาเฉพาะด้านที่หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเห็นด้วย (คะแนนมากกว่า 4) กับการนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล ได้แก่ ด้านบริการเภสัชกรรม (14 ข้อ คะแนน 4.20-4.76) ด้านบริบาลเภสัชกรรม (12 ข้อ คะแนน 4.05-4.56)  ด้านการบริหารเวชภัณฑ์ (10 ข้อ คะแนน 4.25-4.56) และเภสัชสนเทศ (9 ข้อ คะแนน 3.98-4.46) อย่างไรก็ตาม สมรรถนะด้านการผลิตจำนวน 10 สมรรถนะมีคะแนน 3.88-4.00 ซึ่งน้อยกว่าด้านอื่น แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ควรนำมาใช้ประเมิน หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมร้อยละ 82.58 เห็นว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาลควรมีการประเมินสมรรถนะร่วมกับสมรรถนะตามสาขาร่วมกัน ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการกำหนดน้ำหนักคะแนนแต่ละส่วน (ร้อยละ 87.69) โดยควรกำหนดผ่านการประชุมหัวหน้างานส่วนต่าง ๆ ในกลุ่มงานเภสัชกรรม (ร้อยละ 35.28) หรือกำหนดน้ำหนักคะแนนจากปริมาณงาน (ร้อยละ 27.05) ร้อยละ 42.04 เห็นว่าอัตราส่วนคะแนนระหว่างสมรรถนะร่วมและสมรรถนะตามสาขาควรเท่ากับ 40:60 สรุป: กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลสามารถเลือกรายการสมรรถนะในงานวิจัยนี้เพื่อสร้างกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลและเป็นที่ยอมรับของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Association of Hospital Pharmacist (Thailand). Fundamental framework for drug systems. Bangkok: Association of Hospital Pharmacist; 2020.

The Office of the Civil Service Commission. Handbook for determining competencies in the civil service. Nonthaburi: Prachum Chang; 2016

Krates J. The development of a performance evaluation system for nursing instructors using the concept of evidence-based assessment [disserta- tion]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2015.

Atkinson J, Sánchez Pozo A, Rekkas D, Volmer D, Hirvonen J, Bozic B, et al. Hospital and community pharmacists' perceptions of which competences are important for their practice. Pharmacy (Basel) 2016; 4: 21. doi: 10.3390/pharmacy4020021.

Meesil N. Delphi technique: Avoidance of misconcep tion. Veridian E-Journal Silpakorn University 2016; 9: 1256-67.

The Pharmaceutical Society of Ireland (PSI). Core competency framework for pharmacists. Leinster: The Pharmaceutical Society of Ireland; 2013.

Levin A. Do I have an ethical dilemma?.Oman J Ophthalmol 2010; 3: 49–50.

Khamkaew S. Development of competency appraisal form for pharmacist at Chonburi hospital. Chonburi Hospital Journal 2017; 42: 109-14.

Curtiss FR, Fry RN, Avey SG. Framework for pharmacy services quality improvement-A bridge to cross the quality chasm. J Manag Care Spec Pharm 2020; 26: 798-816. doi: 10.18553/jmcp.2020.26.77 98.