การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง จัดการ และแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ณ คลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวัง จัดการ และแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ณ คลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ ผู้เข้าร่วมการศึกษาคือ คณะทำงานพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา (คณะทำงานฯ ) จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูอย.น้อย และ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยนำประเด็นปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยที่ได้จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพระดับพื้นที่คืนข้อมูลแก่คณะทำงานฯ และร่วมกันกำหนดแนวทางการเฝ้าระวัง จัดการ และแจ้งเตือนภัย จนได้รูปแบบที่ชื่อว่า WMA โดย W (watch) ประกอบด้วย PERN ได้แก่ P (proud) คือการสร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่มีการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย E (educate) คือการให้ความรู้แก่คณะทำงานฯ โดยใช้หลักการหุ่นไล่กา 6อ-6เอ๊ะ R (reporting system) คือการสร้างระบบการรายงานผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย N (network) คือการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยเชิงรุก M (management) คือการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยเบื้องต้น รายงานข้อมูลไปยังคณะทำงานฯ ระดับอำเภอ A (alert) คือการแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยผ่านทางกลุ่มไลน์คณะทำงานฯ การประเมินผลรูปแบบฯ ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดก่อนและหลังการแทรกแซง 3 เดือน ใช้แบบสอบถามวัดความรู้ก่อนและหลังการอบรมจำนวน 20 ข้อและการประเมินจากอัตราการรายงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในช่องทางต่าง ๆ ผลการวิจัย: หลังใช้รูปแบบฯ ความรู้เฉลี่ยเรื่องการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยโดยรวมของคณะทำงานฯ เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 12.65±3.52 เป็น 17.62±2.13 คะแนน (คะแนนเต็ม 20) (P<0.001) ความรู้รายด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทุกด้าน การรายงานผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 100 การแจ้งเตือนภัยไปยังกลุ่มไลน์ระดับชุมชน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 100 และรายงานข้อมูลเข้าระบบ Tawai for health เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 100 สรุป: WMA model ทำให้คณะทำงานฯ มีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น การเฝ้าระวัง การจัดการ และการแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Food and Drug Administration. Product surveillance guide in primary care. 4th ed. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2013.
Phupalee T, Apasritongsakul S, Yingyod W, Sangsu wan T, Ammard L. Groceries development model with community involvement in Phon Sung Subdis- trict, Sakon Nakhon. Food and Drug Journal 2014; 21: 57-63.
Bunnuk W, Wongtrakoon P, Mahamongkol H, Nium- khum W. the survey of medicine, food supplement and herbal products used problems among elderly a case study at the community of Tumbon Srisa Chora khe Noi, Samut Prakan Province. HCU Journal of Health Science 2016; 39: 97-108.
Booddawong B, Yoongthong W. Community empowerment in the management of the problems on inappropriate drugs and health products: Case study of Nonkhun District, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 331-43.
Uppatham J. The effect of community empowerment to management of drug and healthcare product problem in Ban Nong Thum, Phayu District, Sisaket Province. Journal of Health Consumer Protection 2021; 1: 27-36.
Thanapas P, Fongsri A, Somboon K, Panarat P. Intervention for harms from drugs and health products among patients with diabetes and hyper- tension in the catchment area of Wat Mai Thung Kha Community Clinic, Rattaphum District, Songkhla. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 250-8.
Thanapas P. The model management of distributing health products in grocery stores Moo.2 Kampaeng pech Rattaphum, Songkhla. 12th Region Medical Journal 2018; 30: 46-52.
Chatakarn W. Action research. Suratthani Rajabhat Journal 2015; 2: 29-49.
Tongyoung P. 4 suspects and 2 forwards of untrustworthy health products [online]. 2018 [cited May 21, 2018]. Available from: waymagazine.org/cu riousandshare/
Chaiyakoon W, Chaiyakoon P, Sudngam A. Develop ment of a health product risk surveillance system through community participation of Pueai noi District, Khon Kaen Province. Journal of Khon Kaen Provincial Health Office 2021; 3: 39-53.