การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านขายยาในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร
ญาดา เรียมริมมะดัน
โปรดปราน ทาศิริ
กนกกาญจน์ เสรีขจรจารุ
สุภนัย ประเสริฐสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านขายยาในจังหวัดชลบุรี วิธีการ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดชลบุรี จำนวน 120 แห่ง ในขั้นตอนการวางแผน (P) เป็นการสนทนากลุ่มในผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 18 คนซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยา และมีประสบการณ์ในด้านนี้มากกว่า 10 ปี เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ออกแบบกิจกรรม และวางแผนในการแก้ไขปัญหา ในขั้นการปฏิบัติ (D) เป็นการจัดกิจกรรมตามที่ได้ระบุในขั้นตอนการวางแผน และใช้แบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ความรู้ฯ) ทัศนคติเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง (ทัศนคติฯ) และความตระหนักถึงผลกระทบจากการโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง (ความตระหนักฯ) โดยวัดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้วิจัยเยี่ยมร้านขายยาเพื่อตรวสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการโฆษณาหลังการจัดกิจกรรม 2 สัปดาห์ ในขั้นการตรวจสอบ (C) เป็นการจัดสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 18 คนเหมือนในขั้นตอนการวางแผน เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ สะท้อนปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ไขในวงรอบการทำงานต่อไป ขั้นการปรับปรุงการดำเนินงาน (A) เป็นการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินตามขั้นตอน PDC เพื่อให้กระบวนการมีความสมบูรณ์ และนำไปขยายผลในพื้นที่ต่อไป  ผลการวิจัย: สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำผิดประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การขาดความรู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการ และ/หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการของร้านขายยา 2) การมีทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายการโฆษณา และ 3) การขาดความตระหนักถึงผลกระทบจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ แนวทางการแก้ไขการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยา คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้ฯ 2) กิจกรรมปรับเปลี่ยนทัศนคติฯ 3) กิจกรรมสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 4) กิจกรรมปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขการโฆษณาของร้านขายยา ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมผู้ประกอบการมีคะแนนความรู้ฯ ทัศนคติฯ และมีความตระหนักฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การประเมินร้านขายยาทุกแห่งไม่พบการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ สรุป: การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ได้ผล ทำให้ผู้ประกอบการร้านยาสามารถโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Food and Drug Administration, Ministry of Public Health. Guide to advertising health products. Bangkok: Agricultural Cooperative; 2012.

Academic Center for Surveillance and Drug System Development, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University. Guidelines for handling advertising problems on online media and other media [online]. 2019. [cited May 27, 2022]. Available from: www.thaidrugwatch.org/download/series/serie s40.pdf.

Ampant P. Situations, problems, and model develop- ment to solve the problems associated with the radio broadcasting advertisement of health products in Sisaket Province. Journal of Health Science 2015; 24: 1060-9.

Nitikarun S, Upakdee N. The distribution of community pharmacies in the context of health need in Thailand. Journal of Health Systems Research 2020; 14: 71-87.

Thavornwattanayong W. Opportunities and develop- ments for the pharmacy business after the 2019 novel coronavirus outbreak. Thai Bulletin of Pharma- ceutical Sciences 2020; 15: 95-107

Vittayarat K. Process of health product advertising among the operators of local radios: A qualitative approach [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2014.

Chonburi Public Health Office. Statistics on phar- macy registration (January–December). Chonburi: Chonburi Public Health Office; 2021.

Chonburi Public Health Office. Report on concerns on health product marketing (January– December). Chonburi: Chonburi Public Health Office; 2021.

Sombutpoothon P, Reamrimmadun Y, Thamniab W, Thanmaneesin K. Violations of laws on advertise- ment of health products by pharmacies in Chonburi with a history of such offenses. Thai Journal of Pharmacy Practice 2024; 16: 657-68

Notification of the Ministry of Public Health on determination of places equipment and practices of community pharmaceuticals in the place where community pharmacy are conducted according to the Drug Act B.E. 2557. Royal Gazette No. 131, Part 223D special (Nov 5, 2014).

Mycot ed. Plan Do Check Act (PDCA) [online]. 2004. [cited May 27, 2022]. Available from: www.mycoted. com/creativity/techniques/pdca.php.

Pattamasaravut P, Muenpa R. Development of model grocery store from the civil state project on collective action for drugs safety in communities. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 601-11.

Schwartz NE. nutritional knowledge, attitude and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc 1975; 66: 28–31.

Onprasert P. A Development approach for phar- macy to reach standards of quality pharmacy in Yala Province [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2015.

Sombutpoothon P. Factors on drug store with good pharmacy practice to abide the criterion of the quality pharmacy at Chonburi Province [master thesis]. Pitsanulok: Naresuan University; 2021.

Meeduang A, Arpasrithongsakul S. Development of a model for Reducing the use of Ya-chud in community by the Council of Community Organiza- tion in Tumbon Ban-Ku, Yangsisurat District, Maha sarakham. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022; 14: 70-85.

Thongyoung P, Komwuthikarn K. Development of drugstores to Good Pharmacy Practice by participa- tory action research in Samutsongkhram Province. Thai Food and Drug Journal 2018; 25: 39-48.