ผลลัพธ์การรักษาของยา sacubitril/valsartan ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของ หัวใจห้องล่างซ้ายลดลง: ประสบการณ์ในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในประเทศไทย

Main Article Content

ภมรวดี ศรีประทุม
ปิยรัตน์ พิมพ์สี
นัทที พรประภา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาของยา sacubitril/valsartan ในผู้ป่วยชาวไทยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง (heart failure with reduced ejection fraction; HFrEF) ต่อการการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว และการเปลี่ยนแปลงของค่า left ventricular ejection fraction (LVEF) โดยเปรียบเทียบกับผู้ป่วย HFrEF ที่ไม่ได้รับยา sacubitril/valsartan วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective study เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วย HFrEF ที่ได้รับยา sacubitril/valsartan ร่วมกับยารักษาตามมาตรฐาน (กลุ่มศึกษา) 111 ราย และกลุ่มผู้ป่วย HFrEF ที่ได้รับยารักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) 129 ราย การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ติดตามต่อเนื่องนาน 12 เดือน ณ สถาบันโรคทรวงอก ผลลัพธ์หลัก คือ การนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว ผลการวิจัย: เมื่อติดตามผู้ป่วยไปเป็นระยะเวลา 12 เดือน พบผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 9) เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (44 รายหรือร้อยละ 34.1)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (hazard ratio; HR 0.20; 95% CI 0.10-0.41; P <0.001) เมื่อรักษาไปนาน 12 เดือน กลุ่มศึกษามีร้อยละการเปลี่ยนแปลงค่า LVEF เพิ่มขึ้นจากค่าเริ่มต้นด้วยค่ามัธยฐาน 11 และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (interquartile range: IQR) 18.0 ในขณะที่กลุ่มที่ควบคุมมีค่าเท่ากับ 4 (13.6) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.001) สรุป: ผู้ป่วย HFrEF ที่ได้รับยา sacubitril/valsartan สามารถลดอัตราการเข้านอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากกว่า และมีร้อยละการเพิ่มขึ้นของค่า LVEF ที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา sacubitril/valsartan อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Groenewegen A, Rutten FH, Mosterd A, Hoes AW. Epidemiology of heart failure. Eur J Heart Fail 2020; 22: 1342-56.

Murphy SP, Ibrahim NE, Januzzi JL, Jr. Heart failure with reduced ejection fraction: A review. JAMA. 2020; 324: 488-504.

Krittayaphong R, Laothavorn P, Hengrussamee K, Sanguanwong S, Kunjara-Na-Ayudhya R, Rattanasu mawong K, et al. Ten-year survival and factors associated with increased mortality in patients admitted for acute decompensated heart failure in Thailand. Singapore Med J 2020; 61: 320-6.

Maddox Thomas M, Januzzi James L, Allen Larry A, Breathett K, Butler J, Davis Leslie L, et al. 2021 Update to the 2017 ACC expert consensus decision pathway for optimization of heart failure treatment: Answers to 10 pivotal issues about heart failure with reduced ejection fraction. J Am Coll Cardiol. 2021; 77: 772-810.

McDonagh TA, Metra M, Adamo M, Gardner RS, Baumbach A, Böhm M, et al. 2021 ESC guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure: Developed by the Task Force for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure of the European Society of Cardiology (ESC) With the special contribution of the Heart Failure Association (HFA) of the ESC. Eur Heart J 2021; 42: 3599-726.

McMurray JJV, Packer M, Desai AS, Gong J, Lefkowitz MP, Rizkala AR, et al. Angiotensin–neprily sin inhibition versus enalapril in heart failure. N Engl J Med 2014; 371: 993-1004.

McCormack PL. Sacubitril/valsartan: a review in chronic heart failure with reduced ejection fraction. Drugs 2016; 76: 387-96.

Packer M, McMurray JJV. Importance of endogenous compensatory vasoactive peptides in broadening the effects of inhibitors of the renin-angiotensin system for the treatment of heart failure. Lancet 2017; 389: 1831-40.

Rattanavipanon W, Sotananusak T, Yamaae F, Chan drsawang A, Kaewkan P, Nathisuwan S, et al. Real-world experience of angiotensin receptor/neprilysin inhibitor (ARNI) usage in Thailand: a single-center, retrospective analysis. BMC Cardiovasc Disord 2021; 21: 324. doi: 10.1186/s12872-021-02145-9.

Lwanga SK, Lemeshow S‎. Sample size determi- nation in health studies [online]. 1991 [cited Apr 29, 2022]. Available from: apps.who.int/iris/handle/106 65/40062.

Martens P, Beliën H, Dupont M, Vandervoort P, Mullens W. The reverse remodeling response to sacubitril/valsartan therapy in heart failure with reduced ejection fraction. Cardiovasc Ther 2018; 36: e12435.

Januzzi JL, Jr., Prescott MF, Butler J, Felker GM, Maisel AS, McCague K, et al. Association of change in n-terminal pro–b-type natriuretic peptide following initiation of sacubitril-valsartan treatment with cardiac structure and function in patients with heart failure with reduced ejection fraction. JAMA 2019; 322: 1085-95.