บทบาทเภสัชกรชุมชนในการคัดเลือกและให้บริการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 10
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจและบทบาทของเภสัชกรเกี่ยวกับการคัดเลือกและการให้บริการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก (weight control dietary supplements: WCDS) ในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 10 วิธีการ: การสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ทำในกลุ่มเภสัชกรหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเองเพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และบทบาทของเภสัชกรในการให้บริการ WCDS ในระหว่างเมษายน – พฤษภาคม 2564 ผลการวิจัย: อัตราการตอบกลับเท่ากับร้อยละ 42.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.5 มี WCDS วางจำหน่าย ในด้านกระบวนการตัดสินใจซื้อ WCDS มาวางจำหน่าย พบว่า ร้อยละ 45.3 ของตัวอย่างรับรู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์จากการเรียกหาของลูกค้า ตัวอย่างร้อยละ 47.6 ค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากบล็อกเกอร์ที่ทบทวนการใช้ผลิตภัณฑ์บนโซเชียลมีเดีย และร้อยละ 65.6ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างร้อยละ 40.6 ไม่ได้ดำเนินการใดต่อหลังจากการซื้อ WCDS มาวางจำหน่ายในร้านยา ขณะที่ร้อยละ 29.7 ทบทวนยอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ในด้านบทบาทเภสัชกรในช่วงก่อนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างร้อยละ 34.4 ประเมินดัชนีมวลกายของลูกค้า ตัวอย่างร้อยละ 25.4 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนและความเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และร้อยละ 13.1 ได้ประเมินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับโรคประจำตัวของลูกค้า ในขณะที่หลังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (ร้อยละ 51.6) ให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจและให้คำแนะนำเกี่ยวกับใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัย (ร้อยละ 30.2) และ ร้อยละ 18.2 ไม่ได้ทำกระบวนการใดเลย สรุป: เภสัชกรชุมชนมีบทบาทในการคัดเลือก WCDS ตลอดจนการให้ความรู้และการติดตามลูกค้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิผลให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนหรือเสริมแรงจากทุกภาคส่วนเพื่อกระตุ้นให้เภสัชกรชุมชนได้แสดงบทบาทวิชาชีพมากขึ้นในเรื่องนี้ จะช่วยเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังและสร้างความปลอดภัยของการใช้ WCDS ในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Kongjarern S. Obesity: silent killer in the digital era. EAU Heritage Journal Science and Technology 2017; 11: 22-9.
Marketeer. Weight control dietary supplements market [online]. 2016 [cited Jan 26, 2021]. Available from: marketeeronline.co/archives/24837.
Lertsuchatavanich S. Food supplement consumption behavior for weight control of public health personnel in Ratchaburi Province [master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2006.
Chonwihanpa W. Prevalence of inappropriate use of health products for weight control among female teenagers in Saraburi Province and factors affecting It. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 442-52.
Sereerut S. Marketing management. Bangkok: Wisit Pattana; 2003.
Siljaru T. Research and statistical analysis with SPSS and AMOS. 7th ed. Bangkok: V Inter print; 2006.
Chomrat U. Factors affecting workers purchasing decisions of supplementary food Capsule. [indepen- dent study]. Bangkok: Bangkok University; 2015.
Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Proceedings of the Annual Meeting of the American Educational Research Association. 1976 Apr 19-23; San Francisco, CA. p. 37.
Katosod J. Phoomkat W. Wuttiadirek W. Adulteration of modern drugs in diet coffee and dietary supplements [online]. 2014 [cited May 1, 2020]. Available from: budgetitc.dmsc.moph.go.th/research/ pdf/201443.pdf
Julamakron C. Influential factors on behavior of purchasing goods via internet of undergraduate students. [independent study]. Chonburi: Burapha University; 2012.
Pliemsup S. Factors affecting the decision to buy dietary supplement products in Mueang District, Chiang Mai Province [independent study]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2005.
Public Health Ministerial Declaration in 2014 on the requirement of premises instruments and good pharmacy practice in selling establishments of modern drugs according to the Drug Act. Royal Gazette No.131, Part 223D special (Nov 5, 2014).
Yotsombut K. The role of community pharmacists in the treatment of obesity. Journal of Community Pharmacy 2018; 11: 59-66.
Somlo N. Caring for obese patients in practice. Bangkok: Clinical Nutrition Unit Department of Internal Medicine, Chulalongkorn Hospital; 2015.
Limpikanjanakowit P. The effect of using a weight control program that focuses on changing eating behaviors in overweight or obese people. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 9: 109-13.
Jongwattananukul S. Kongkaew C. Role of community pharmacists in health promotion and prevention in Thailand: A systematic review. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 686-700.