การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของ ร้านขายยาในจังหวัดชลบุรีที่เคยมีประวัติการกระทำผิดดังกล่าว

Main Article Content

พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร
ญาดา เรียมริมมะดัน
วรพจน์ ทำเนียบ
กนกพร ธัญมณีสิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านขายยาในจังหวัดชลบุรีที่เคยมีประวัติการกระทำผิดดังกล่าว วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจนี้ทำในร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 156 แห่งที่เคยมีประวัติการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยา การศึกษารวบรวมข้อมูลจากผลตรวจประเมินวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 การประเมินข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพว่าผิดกฎหมายหรือไม่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3 ท่าน ผลการวิจัยร้านขายยาที่เคยมีประวัติการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาฯ มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวน 129 แห่งจากทั้งหมด 156 แห่ง จัดเป็นการโฆษณาที่ไม่ถูกต้องจำนวน 120 แห่ง (ร้อยละ 93.02 ของร้านขายยาที่มีการโฆษณา) จำนวนข้อความการโฆษณาทั้งหมด 284 ข้อความ พบว่าเป็นข้อความที่โฆษณาไม่ถูกต้อง จำนวน 234 ข้อความ (ร้อยละ 82.39) กฎหมายที่ข้อความโฆษณาละเมิดมากที่สุด คือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยพบความผิด จำนวน 232 ครั้ง รองลงมาคือพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 โดยพบความผิด จำนวน 119 ครั้ง พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 โดยพบความผิด จำนวน 89 ครั้ง และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 โดยพบความผิด จำนวน 24 ครั้ง ประเภทสื่อโฆษณาที่พบมากที่สุด คือสิ่งพิมพ์จำนวน 144 ชิ้น (ร้อยละ 50.70) แหล่งที่มาของสื่อส่วนใหญ่เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นเองโดยผู้ประกอบกิจการ และ/หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา จำนวน 174 ชิ้น (ร้อยละ 74.36) สรุป: ปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องยังพบในร้านขายยาที่เคยมีประวัติการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลทะเบียนผลิตภัณฑ์ การอนุญาตโฆษณา และข้อมูลรายละเอียดบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ผู้ประกอบการร้านยา รวมถึงผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและสะดวกรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Food and Drug Administration Ministry of Public Health. License data for the pharmaceutical industry in 2021 [online]. 2022. [cited May 26, 2022]. Available from: www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shar ed%20Documents/Statistic/Licensee-20210531.pdf

Pittayanukul S., Chara-am S. Choosing to use phar- macy services in Thailand. Journal of Business Administration 2017; 6: 135-45.

Suja S. Strategies for single pharmacy entrepreneurs building competitive advantage in Muang District, Chiang Mai Province [master thesis]. Chiang Mai: Mae Jo University; 2015.

Thavornwattanayong W. Opportunities and develop- ments for the pharmacy business after the 2019 novel coronavirus outbreak. Thai Bulletin Pharma- ceutical Sciences 2020; 15: 95-107

Thongyang P., Thanmaneesin K. Pharmacists and consumer protection operations in the management of Covid-19 vaccine. Journal of Health Consumer Protection 2021; 1: 11–14.

Food and Drug Administration Ministry of Public Health. FDA revealed more than litigation of 3,000 cases of illegal advertising of health products and establishments, with fines of 41 million baht, and termination of more than 4,700 food serial numbers [online]. 2021. [cited May 28, 2022]. Available from: oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/2018.

Chonburi Public Health Office. Information of pharma- cy registration statistic (January–December). Chon- buri : Chonburi Public Health Office; 2021.

Chonburi Public Health Office. Report on concerns concerning health product marketing from (January– December). Chonburi: Chonburi Public Health Office ; 2021.

Drug Act B.E. 2510. Royal Gazette No 84, Part 121 Special (Oct 20, 1967).

Food Act B.E. 2522. Royal Gazette No119, Part 102A Special (May 8, 1979).

Medical device Act B.E. 2551. Royal Gazette No 125, Part 43A (Mar 5, 2008).

Herbal Products Act B.E. 2562. Royal Gazette No 136, Part 56A (Apr 30, 2019).

Food and Drug Administration Ministry of Public Health. Work manual for district officers’ implemen- tation of consumer protection for health products [online]. 2018. [cited May 26, 2022]. Available from: www.kanpho.go.th/new/downloads/2561%20Final.pdf.

Poophalee T., Kritpolviman V., Tontipiromya C. Legal analysis of dietary supplements advertising regulation. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022; 14: 95-111.

Pencharoen D. Regulatory development on mar- keting authorization of herbal products in Thailand. Thai Food and Drug Journal 2019; 26: 10-19.

Mahaprom T, Suparyong O, Chinwong D, Chinwong S. Situation of medical advertisements broadcasted on radios in rural districts of northern Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 840-89.

Rujirayunyong T. Situation of Illegal advertising of health products among local radios in Lopburiin the Era of the National Council for Peace and Order (NCPO). Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 187-99.

Vittayarat K. Process of health product advertising among the operators of local radios: a qualitative approach [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2014.