ความเหนื่อยล้าในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

Main Article Content

เบญจลักษณ์ ศรีดี
หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรในโรงพยาบาลเอกชน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน วิธีการ: รูปแบบงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 690 คน การศึกษาเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์และออนไลน์ การวัดระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานโดยใช้แบบวัด MBI-Human Services Survey ตามแนวคิดของ Maslach และ Jackson และวัดระดับความผูกพันต่อองค์กรโดยใช้แบบวัดตามแนวคิดของ Allen และ Meyer ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ เท่ากับ 19.83±11.09 การลดค่าความเป็นบุคคล เท่ากับ 3.80±4.51 และการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล เท่ากับ 12.15±6.76 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ คือ สถานภาพสมรส โรคประจำตัว ขนาดโรงพยาบาล และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.30) ปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านการลดค่าความเป็นบุคคล คือ อายุและการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.26) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล คือ จำนวนผู้ป่วยใน และการรับรู้ต่อระบบบริหาร (R2 = 0.24) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ เท่ากับ 3.50±0.61 ด้านการคงอยู่ เท่ากับ 3.29±0.45 และด้านบรรทัดฐาน เท่ากับ 3.26±0.60 ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ คือ เพศ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.32) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านการคงอยู่ คือ อายุ ระดับการศึกษา ภาระครอบครัว การรับรู้ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.21) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน คือ อายุ ขนาดโรงพยาบาล การรับรู้ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.20) สรุป: เภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีความเหนื่อยล้าโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทั้งความเหนื่อยล้าในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน การลดหรือจัดการกับปัจจัยอย่างเหมาะสมจะนำไปสู่การลดความเหนื่อยล้าในการทำงานและเพิ่มความผูกพันต่อองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Health Service Support. Information about hospitals that accept patients overnight (Private hospital) [online]. 2019 [cited Oct 10, 2019]. Available from: mrd-hss.moph.go.th/.

National Statistical Office. Survey of hospitals and private healthcare 2017 [online]. 2014 [cited Aug 15, 2019]. Available from: www.nso.go.th/sites/2014/ Pages/News/2561/N24-10-61.aspx.

Chaichalermpong W. Job satisfaction, organizational commitment and intention to quit among Thai pharmacists. Journal of Health Systems Research 2008; 2: 22-30.

Psychiatric Association of Thailand. “Burnout” [online] 2019 [cited Sep 10, 2019]. Available from: www. facebook.com/ThaiPsychiatricAssociation/photos/

Pongsetpisan T. 100 years pharmaceutical project (1913-2013) [online]. 2019 [cited Sep 20, 2019]. Available from: dekpharmacy.oh.tc/-View.php?N=75 &Page=1.

Department of Mental Health. Burnout in the city: Research shows that more than half of working-age urbanites are risk of burnout [online]. 2020 [cited Feb 1, 2020]. Available from: dmh.go.th/news-dm h/view.

Aslam MS, Safdar U. The influence of job burnout on intention to stay in the organization: Mediating role of affective commitment. J Basic Appl Sci Res 2012; 2: 4016-25.

BNH Hospital. History updated July 25, 2011 [online]. 2019 [cited Feb 22, 2020]. Available from: www.Bnh hospital.com/th/.

Saidum S, Sriruecha P. Organizational climate affecting the pharmacists’ organizational commit- ment at the Regional hospitals in the Northeast. Thai Journal of Pharmacy Practice 2009; 1: 72-82.

Carvajal MJ. A theoretical framework for the interpre tation of pharmacist workforce studies throughout the world: The labor supply curve. Res Soc Admin Pharm 2018; 14: 999-1006.

Nanthapornsak S. The factors affecting physicians’ employee engagement of Private hospitals in the Northeastern region, Thailand. KKU Research Journal of Humanities and Social sciences (Graduate Studies) 2019; 7: 3-5.

Maslach C, Jackson SE. The measurement of experienced burnout. J. Organiz. Behav. 1981; 2: 99-113.

Steers RM. Antecedents and outcomes of organiza- tional commitment. Adm Sci Q 1977; 22: 46-56.

Allen NJ, Meyer JP. The measurement and antece- dent of affective, continuance and normative commitment to the organization. J Occup Psychol 1990; 63: 1-18.

Sammawat S. Burnout among the staff nurses in Ramathibodi hospital [master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 1989.

Zhou B. Factors affecting nurses’ work burnout: A case study of Bangkok Metropolitan Authority’s Medical College hospital and Vajira hospital [master thesis]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2009.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

Siwakarn W. Job burnout in hospital pharmacists, Office of the Permanent Secretary of Ministry of Public Health [master thesis]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2010.

Maslach C, Jackson SE, Leiter MP, Schaufeli WB, Schwab RL. Maslach Burnout Inventory. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1986.

Angkanurakphan C. The perception of corporate culture and organizational commitment of employees in hotel business in Pattaya, Chonburi province [master thesis]. Chonburi: Burapha Univer- sity; 2003.

Prangyaphan C. Clients’ satisfaction towards at Chaophraya Yommarat hospital [master thesis]. Nonthaburi: Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi; 2011.

Satavatin P. Mass communication: Process and theory. Bangkok: Chulalongkorn University; 1990.

Mathieu JE, Zajac DM. A review and meta-analysis of the antecedents, correlates and consequences of organizational commitment. Psychol Bull 1990; 108: 171-94.

Sereerat S. Management and organizational behavior. Bangkok: Thirafilm and Scitex; 2007.

Kuptanon W. Management and organizational behavior. Bangkok: Office of Publishing and Printing Rangsit University; 2001.

Porter LW, Bigley GA, Steers RM. Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill; 2003.

Limweeraphan S. Employee engagement: A case study of Rayong Purifier PLC [master thesis]. Bangkok: National Institute of Development Adminis- tration (NIDA); 2007.

Kongchan A. Organizational commitment. Bangkok: Chulalongkorn Business Review; 1998.