การวิเคราะห์งานของกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: วิเคราะห์งานและความเพียงพอของอัตรากำลังคนในกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิภาพงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก วิธีการ: ผู้วิจัยศึกษาประเภทและปริมาณงานของเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในวันและเวลาราชการ โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์บุคลากรในหน่วยงาน และการสังเกตการทำงาน การหาเวลามาตรฐานในการทำงานได้จากจากการทบทวนวรรณกรรม การใช้เทคนิคจับเวลาการทำงาน และความเห็นผู้เชี่ยวชาญสำหรับงานที่ไม่มีเวลามาตรฐาน การเก็บข้อมูลเป็นแบบไปข้างหน้าในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2562- 30 กันยายน 2563 และเป็นแบบย้อนหลังในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2561- 30 กันยายน 2562 หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความเพียงพอของอัตรากำลังคนในเงื่อนไขต่าง ๆ และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ผลการวิจัย: ปริมาณงานต่อปีของเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภส้ชกรรม เท่ากับ 15,137.16 และ 10,846.12 ชั่วโมง เมื่อคิดเป็นอัตรากำลังจะได้ 9.01 และ 6.46 คน ตามลำดับ ขณะที่ปัจจุบันมีเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงานจำนวน 8 และ 6 คน ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ปฏิบัติงานจริงน้อยกว่าจำนวนที่ควรมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยเลือกศึกษาในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เนื่องจากเป็นงานที่ใช้อัตรากำลังมากที่สุดจากงานทั้งหมด โดยเน้นการลดระยะเวลารอคอยงานระหว่างขั้นตอนการทำงานลงให้เหลือน้อยที่สุด หลังดำเนินการปรับปรุงงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก สามารถลดเวลาที่ใช้รอคอยงานระหว่างขั้นตอนการทำงานลงจาก 27.83±16.75 นาที เป็น 12.59±8.90 นาที ร่วมกับการลดเวลาที่ใช้ทำงานลงจาก 5.40±2.77 นาที เป็น 4.81±2.40 นาที ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่งผลให้เวลารอรับยาของผู้ป่วยลดลงจาก 33.23±16.98 นาทีเหลือ 17.39±9.44 นาที ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุป: การศึกษางานเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลซึ่งควรดำเนินการหากพบว่า หน่วยงานมีปัญหาอัตรากำลังคนไม่เพียงพอ เพื่อนำข้อมูลมาหาวิธีปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการใช้อัตรากำลังเท่าที่มีอย่างเหมาะสมได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Jindawatthana A. Ten-year national strategy plan for public health manpower (2007-2016) [online]. 2018 [cited Sep 26, 2019]. Available from: infocenter.natio nalhealth.or.th/node/13281.
Noree T, Thanomwat Y, Phanthunane P, Gongkula- wat K. Research for generating alternatives and recommendations for planning the health workforce requirements of country in the next 10 years [online]. 2017 [cited Sep 26, 2019]. Available from: kb.hsri .or.th/dspace/handle/11228/4749?locale-attribute =th.
Sawaengdee K, Jaichuen W, Decha N. Manpower reform plan and health service missions of the Ministry of Public Health [online]. 2022 [cited Mar 16, 2023]. Available from: pt.or.th/PTCouncil/file_ attach/Att201907301564486064_1.pdf
Sakulbumrungsil R, Kessomboon N, Udomaksorn K, Wanishayakorn T, Chaiyakan K, Nualdaisri P. Forecasting pharmacist workforce demand by the year 2026. Bangkok: Pharmacy Council of Thailand; 2016.
Human Resource Management Division, Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Structure and workforce position in provincial government agencies [online]. 2017 [cited Sep 26, 2019]. Available from: 203.157.213.6/nitikarn/lawyer club/download/structure.pdf
Rascati KL, Kimberlin CL, Mccormick WC. Work measurement in pharmacy research. Am J Health-Syst Pharm 1986; 43: 2445-52.
Kanjanapanyakom R. Industrial work study. Bangkok: Top; 2019.
Rijiravanich V. Work study: principle and case study. 9th ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2012.
Mankaket K. A work study of pharmacist in primary care hospital: A case study of Khuankalong Hospital [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2012.
Pokpirom S. Pharmacist workforce: A work based estimation in district hospital [master thesis]. Song- khla: Prince of Songkla University; 2010.
Wattanapoksin J, Rungsimuntuchart S, Daosodsai P. Determination of workload and manpower requirement of pharmacy personnel at general and community hospital in Khon Kaen province [master thesis]. Khon Kaen University; 2014.
Vanichbuncha K. Statistics for research. 3th ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2007.
Vanichbuncha K. SPSS for windows. Bangkok: Chulalongkorn University; 2007.
Ruengjuy J. Improvement of outpatient service at Krathumbaen Hospital [master thesis]. Nakon Pathom: Silapakorn University; 2012.
Chinvarakorn J. Shortening waiting time of out- patient dispensing service at Somdej Phraphuttha loetla Hospital. Journal of Health Science 2016; 25: 664-72.
Torchoo P. The efficiency development of operation [online].2016 [cited Feb 27, 2022]. Available from: www.thailandindustry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=771.
Jaidee PH. Lean management system: Concept and practice in public health for community engage- ment. Public Health Journal of Burapha University 2017; 12: 133-43.