ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สกนวรรณ พวงหอม
เฉลิม พวงหอม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคนที่มารับบริการที่ รพ.สต. ห้วยสัตว์ใหญ่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาใช้แบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย (Medication Adherence Scale in Thais หรือ MAST©) การประเมินความเครียดของผู้ป่วยใช้แบบวัด SPST-20 (Suanprung Stress Test 20) การประเมินความรู้ในเรื่องโรคและยาและแรงสนับสนุนจากสังคมใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม การศึกษาใช้การวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกแบบทวิเพื่อทำนายความร่วมมือในการใช้ยาโดยมีตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ความสามารถในการควบคุมความดันโลหิต โรคร่วม และระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ความเครียด ความรู้เรื่องโรคและยารักษาความดันโลหิตสูง และแรงสนับสนุนทางสังคม ผลการศึกษา: ผู้ร่วมการวิจัยเป็นผู้ป่วย 79 คน อายุเฉลี่ย 65.56±10.99 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 75.95 ระยะเวลาเป็นโรคเฉลี่ย 7.68±4.12 ปี ตัวอย่างร้อยละ 79.75 ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ คะแนนความรู้เฉลี่ย 11.47±2.22 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 15) คะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมเฉลี่ย 20.11±4.73 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 25) คะแนนความเครียดเฉลี่ย  25.34±4.62 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100) คะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ย 36.10±4.02 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 40) ผู้ป่วยร้อยละ 78.5 มีระดับความร่วมมือในการใช้ยาในระดับที่เพียงพอ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพศชายมีโอกาสที่จะมีความร่วมมือในการใช้ยาที่เพียงพอมากกว่าเพศหญิง 8.6 เท่าตัวซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI ของ OR หรือ odds ratio = 1.02-72.48; P = 0.048) และคะแนนความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย สัมพันธ์กับโอกาสการมีความร่วมมือในการใช้ยาที่เพียงพอที่เพิ่มขึ้น 1.35 เท่าตัว (95%CI ของ OR = 1.02-1.77; P = 0.034) การวิเคราะห์พบ pseudo R2 = 0.12 (P=0.007) สรุป: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เป็นเพศชายและที่มีคะแนนความรู้ที่สูงขึ้น มีโอกาสพบว่ามีความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าเพศหญิงและผู้ที่มีคะแนนที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Division of Non-communicable Diseases. Number and mortality rate with 5 NCD 2016–2020 [online]. 2021 [cited Aug 20, 2021].Available from: www.thai ncd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14 480&tid=32&gid=1-020.

Thai Hypertension Society. 2019 Thai guidelines on the treatment of hypertension [online]. 2019 [cited Aug 20, 2021].Available from: http://www.thaihyper tension.org/guideline.html

Uchmanowicz B, Chudiak A, Uchmanowicz I, Rosińc zuk J, Froelicher ES. Factors influencing adherence to treatment in older adults with hypertension. Clin Interv Aging 2018; 13: 2425–41.

Bunyatnopparat K, Limpawattana P. Factor associated with medication adherence in older patients with chronic diseases of Dongluang hospital. KKU Journal of Medcine 2019; 5: 40-9.

Puanglai K, Jarupaktranonth C, Changsirikulchai S, Janma J, Chuemongkon W. Stress and medication adherence among continuous ambulatory peritoneal dialysis patients. Srinagarind Medical Journal 2020; 35: 287–95.

Jitautai W. Factors influencing medication adherence in hypertensive patients without complications [master thesis]. Chonburi; Burapha University; 2021.

Mahatnirunkul S, Pumpaisalchai W, Tapanya P. The construction of Suanprung stress test for Thai population. Academic Psychiatry and Psychology Journal 1997; 13: 1-20.

Suphachamroon A, Lerkiatbundit S, Saengcharoen W. Validity and reliability of the medication adherence scale in Thais. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 607–19.

Jongwilaikasem K, Lerkiatbundit S. Development of the medication adherence scale for Thais (MAST). Thai Journal of Pharmacy Practice. 2021; 13: 17–30.

Puengdokmai P, Charoenkitkarn V, Pinyopasakul W, Sriprasong S, Dumavibhat C. Factors influencing medication adherence in hypertensive patients without complications. Princess of Naradhiwas University Journal 2016; 8: 16–26.

Rungsawang S. Factors related to polypharmacy medication adherence among older persons with chronic illness. Journal of Nursing, Siam University 2017; 18: 6–23.

Ernawati I, Lubada EI, Lusiyani R, Prasetya RA. Association of adherence measured by self-reported pill count with achieved blood pressure level in hypertension patients: a cross-sectional study. Clin Hypertens 2022; 28: 12. doi: 10.1186/s40885-022-00195-5.

Choi HY, Oh IJ, Lee JA, Lim J, Kim YS, Jeon TH, et al. Factors affecting adherence to antihyperten sive medication. Korean J Fam Med. 2018; 39: 325–32.

Pattanajak C. Medication adherence in elderly patients with chronic disease at Lad Pattana Health promoting hospital, Muang District, Mahasarakham province. Mahasarakham Hospital Journal. 2019; 16: 13–22.

Panthonglang W, Namphonkrang P, Duangsanjan W.Factors influencing the health behavior of uncontrolled hypertension patients. Songklanagarind Journal of Nursing 2018; 38: 152–65.