การสำรวจสถานการณ์การปฏิบัติงานให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ ของบัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจการให้บริการเลิกบุหรี่และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการเลิกบุหรี่ของบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย วิธีการ: งานวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากบัณฑิตของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย 19 แห่งที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2561 - 2563 จำนวน 358 คน การศึกษาเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก การศึกษาเก็บข้อมูลในช่วง เม.ย.-พ.ค. 2565 ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัย: ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.6) อายุเฉลี่ย 26.15 ± 1.73 ปี สำเร็จการศึกษาสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมร้อยละ 76.5 จบในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 60.9 มีใบประกอบวิชาชีพร้อยละ 95.5 เป็นเภสัชกรโรงพยาบาลร้อยละ 41.9 และมีประสบการณ์การทำงาน 1-1.9 ปี (ร้อยละ 42.2) ส่วนใหญ่เคยเรียนเกี่ยวกับบุหรี่ (ร้อยละ 77.7) โดยเรียนเฉลี่ย 9.25 ± 7.29 ชั่วโมง และเคยให้บริการเลิกบุหรี่ระหว่างเรียนร้อยละ 60.9 หรือเฉลี่ย 3.14 ± 3.90 รายต่อปี หลังจบการศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยให้บริการเลิกบุหรี่ ไม่เคยอบรมเพิ่มเติม และไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่ช่วยเลิกบุหรี่ (ร้อยละ 64.8, 84.6, และ 90.8 ตามลำดับ) ปัจจัยเอื้อที่ส่งผลต่อการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่มากที่สุดคือ ความสุขในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือการที่ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และการวางระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (คะแนนเฉลี่ย 3.84±1.06, 3.74±1.13 และ 3.69±1.09 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 5) ประสบการณ์ในการทำงาน การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่หลังจบการศึกษาและการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ขณะกำลังศึกษา มีความสัมพันธ์กับการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุป: บทบาทการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของเภสัชกรนั้นควรได้รับการเน้นย้ำถึงความสำคัญตั้งแต่การเรียนการสอนในคณะและการฝึกอบรมเพิ่มเติมหลังจบการศึกษา การที่หน่วยงานของเภสัชกรมีนโยบายและแผนการทำงานที่ชัดเจน และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีเป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้เภสัชกรให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ให้กับประชาชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Sirirassamee B, Jampaklay A, Holumyong C, Siriras samee T, Konkaew T, Gainroj P. National survey on the impact of tobacco consumption control policies in Thailand: Group of smokers Round 6 (2012). Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2012.
World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic 2008 [online]. 2008 [cited Mar 10, 2021]. Available from: apps.who.int/ iris/ bitstream/ 10665/43818/1/9789241596282_eng.pdf
The International Health Policy Program. Report on the burden of diseases and injuries of the Thai population. Nonthaburi: International Health Policy Program; 2017.
Tobacco Control Research and Knowledge Manage ment Center. Tobacco consumption situation in the Thai population 2018. Bangkok: Mahidol University; 2018.
National Health Security Office (NHSO). The right to good health, prevent disease [online]. 2020 [cited Apr 22, 2022] Available from: www.nhso.go.th/page/ coverage_rights_health_enhancement
Tobacco Products Control Act B.E. 2560 (A.D. 2017). Royal Gazette No. 134, Part 39 (Apr 5, 2017)
Cochran WG. Sampling technique. 2nd ed New York: John Wiley and Sons; 1963.
Manion J. Joy at work: Creating a positive workplace. J Nurs Admin 2003; 33: 652-5.
Praingam B, Benjakul S, Kittipichai W. Predicting factors the provision of smoking cessation services among dentists. Journal of Public Health. 2019; 49: 81-94.
Hanioka T, Ojima M, Kawaguchi Y, Hirata Y, Ogawa H, Mochizuki Y. Tobacco interventions by dentists and dental hygienists. Jpn Dent Sci Rev 2013; 49: 47-56.
Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev 1977; 84: 191-215.
Diana KC. Factors that explain and predict commu- nity pharmacists' provision of smoking cessation services: An application of the integrated behavioral model [master’s thesis]. Ohio: University of Toledo; 2019.
Simansalam S, Shamsudin SH, Mohamed MHN. Malaysian pharmacy students' intention to provide smoking cessation counseling. Curr Pharm Teach Learn 2017; 9: 918-24.
Chatdokmaiprai K, Roojanavech S. Factors predicting smoking cessation service behaviors of community nurses in Nakhon Pathom Province. Journal of Nursing and Health Sciences. 2021; 15: 112-28.
Huang C, Guo C, Yu S, Feng Y, Song J, Eriksen M, et al. Smoking behaviors and cessation services among male physicians in China: evidence from a structural equation model. Tob Control 2013; 22(Suppl 2): ii27-33.