การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง บนหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: พัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยจำนวน 300 รายที่มีการทำงานของไตบกพร่องจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 ถึง 30 ก.ย. 2560 ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาคู่มือการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง และการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม ระยะที่ 3 เป็นการดำเนินการบริบาลทางเภสัชกรรมเต็มรูปแบบในผู้ป่วย 40 ราย ผลการวิจัย: ระยะที่ 1 พบปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา 254 ปัญหา ได้แก่ 1) ได้รับยารับยาที่ถูกต้อง แต่ขนาดมากเกินไป 77 ปัญหา 2) เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา 75 ปัญหา 3) ไม่ได้รับยาที่ควรจะได้ 56 ปัญหา 4) ได้รับยาที่ไม่เหมาะสม 34 ปัญหา 5) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 7 ปัญหา และ 6) ได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาดน้อยเกินไป 5 ปัญหา การศึกษาในระยะที่ 2 ทำให้ได้คู่มือการปรับขนาดยาตามการทำงานไต และรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างเต็มระบบบนหอผู้ป่วย ระยะที่ 3 พบปัญหาที่เกี่ยวกับยาทั้งหมด 42 ปัญหา จำแนกได้ดังนี้ 1) เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา 16 ปัญหา 2) ได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาดมากเกินไป 10 ปัญหา 3) ไม่ได้รับยาที่ควรจะได้ 5 ปัญหา 4) ไม่ได้รับยาตามแพทย์สั่ง 5 ปัญหา 5) ได้รับยาที่ไม่เหมาะสม 3 ปัญหา 6) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 3 ปัญหา โดยทั้ง 42 ปัญหาได้รับการแก้ไขและติดตามโดยเภสัชกรตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล แพทย์หรือผู้ป่วยให้การยอมรับและปฏิบัติตามที่เภสัชกรแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 61.90 ของคำแนะนำ แพทย์หรือผู้ป่วยให้การยอมรับแต่ปรับเปลี่ยนบางส่วนทำให้ปัญหาลดลง ร้อยละ 38.10 ของคำแนะนำ สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร ส่งผลให้สามารถตรวจพบและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับยาได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ปลอดภัย และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Kevalin C. Health service system development plan (service plan) 2023-2027. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2016. 73-74 p.
American Society of Health-System Pharmacists. ASHP statement on pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm 1993; 50: 1720–3.
Wannaprasat S. Drug use problems in the elderly. Isan Journal of Internal Medicine. 2008; 7: 75–7.
Srisuwanphob P. Effectiveness of chronic kidney disease care in diabetic mellitus clinic at Chattrakan Hospital [master thesis]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2012
Hemachandra A. Effects of pharmaceutical care on drug-related problems in hemodialysis patients at Pranungklao hospital [master thesis]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2010.
Basile F. Identifying potential drug interactions in chronic kidney. Braz J Nephrol 2013; 32: 26–34.
Schmader K, Hanlon J, Landsman P, Samsa G, Lewis I, Weinberger M. Inappropriate prescribing and health outcomes in elderly veteran veteran outpatients. SAGE Journals. 1997; 31: 529-33.
Aparasu R. Drug-related-injury visits to hospital emergency department. Am J Health-Syst tharm. 1998; 55:1158-61.
Alahdal A, Elberry A. Evaluation of applying drug dose adjustment by physicians in patients with renal impairment. Saudi Pharm J 2012; 20: 217- 20. doi:10.1016/j.jsps.2011.12.005.