การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่เหมาะสมในร้านชำภายในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในร้านชำภายในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่จัดการปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในร้านชำ 53 ร้านในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยนำรูปแบบการจัดการปัญหาที่ชื่อว่า PERMMPAN GROCERY MODEL 1.1 มาทดลองใช้ในหนึ่งหมู่บ้านที่มีร้านชำทั้งหมดสามร้าน แล้วนำไปขยายผลในพื้นที่ใหญ่ขึ้นครอบคลุมทั้งอำเภอรัตภูมิใน 11 หมู่บ้านซึ่งมีร้านชำทั้งหมด 50 ร้าน PERMMPAN GROCERY MODEL 1.1 มีองค์ประกอบหลักได้แก่ P (Participation) หรือความร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง E (Evaluation) หรือการประเมินมาตรฐานร้านชำ R (Recommendation) หรือการให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่สำคัญ M (Motivation) หรือ การกระตุ้น M (MOU) หรือการทำข้อตกลงความร่วมมือ P (Practice) หรือการฝึกตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ A (Ability) หรือการพัฒนาศักยภาพ และ N (Network) หรือการมีเครือข่ายเฝ้าระวัง การประเมินผลทำในช่วงก่อนและหลังการแทรกแซง 1 เดือนโดยการวัดความรู้และการปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้ประกอบการร้านชำโดยใช้แบบสอบถาม การประเมินตามเกณฑ์ร้านชำติดดาว และชุมชนปลอดยาอันตราย ผลการวิจัย: หลังใช้รูปแบบการจัดการปัญหาพบว่า ความรู้เรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำโดยรวมของผู้ประกอบการร้านชำเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 9.94±2.94 ในช่วงก่อนการวิจัยเป็น 12.82±2.78 (จากคะแนนเต็ม 16) ในช่วงหลังการจัดการฯ (P<0.001) หากพิจารณาความรู้รายด้าน พบว่า ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เรื่องการดูฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นจาก 3.96±1.42 เป็น 5.04±1.21 (จากคะแนนเต็ม 6, P<0.001) ความรู้เฉลี่ยเรื่องการดูวันที่ผลิตวันที่หมดอายุเพิ่มขึ้นจาก 0.86±0.76 เป็น 1.78±1.15 (จากคะแนนเต็ม 3, P<0.001) ความรู้เฉลี่ยเรื่องกฎหมายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำเพิ่มขึ้นจาก 2.78±1.08 เป็น 3.32±0.91 (จากคะแนนเต็ม 4, P<0.001) ความรู้เฉลี่ยเรื่องการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นจาก 2.34±0.63 เป็น 2.68±0.51 (จากคะแนนเต็ม 3, P<0.001) การปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำโดยรวมของผู้ประกอบการร้านชำเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 5.4±2.78 ในช่วงก่อนการวิจัยเป็น 8.52±1.93 ในช่วงหลังการจัดการปัญหาฯ (จากคะแนนเต็ม 10, P<0.001) หากพิจารณาการปฏิบัติรายด้านพบว่า ผู้ประกอบการร้านชำมีการปฏิบัติเฉลี่ยเรื่องการดูฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นจาก 2.32±1.72 เป็น 3.90±1.42 (จากคะแนนเต็ม 5, P<0.001) การปฏิบัติเรื่องการดูวันที่ผลิตวันที่หมดอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72 เป็นร้อยละ 86 (P=0.07) การปฏิบัติเฉลี่ยเรื่องกฎหมายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำเพิ่มขึ้นจาก 1.74±0.96 เป็น 2.86±0.45 (จากคะแนนเต็ม 3, P<0.001) การปฏิบัติเรื่องการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 62 เป็นร้อยละ 90 (P<0.001) ร้านชำทั้งหมด 50 ร้านผ่านมาตรฐานร้านชำติดดาวเพิ่มขึ้นจาก 0 ร้าน เป็น 50 ร้านในช่วงหลังการจัดการฯ โดยผ่านมาตรฐานร้านชำติดดาวระดับ 3 ดาว, 4 ดาว และ 5 ดาว จำนวน 9, 20 และ 21 ร้าน ตามลำดับ ชุมชนผ่านเกณฑ์ร้านชำปลอดยาอันตรายเพิ่มขึ้นจาก 0 ชุมชน เป็น 11 ชุมชน สรุป: PERMMPAN GROCERY MODEL1.1 ทำให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และมีการปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำดีขึ้น ร้านชำและชุมชนเป็นสถานที่ซึ่งมีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Food and Drug Administration. Product surveillance guide in primary. 4th ed. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2013.
Ueabandit N, Unkaew M, Khamor M, Tayida M, Uthon Y. Community survey of musculoskeletal pain and management in Nam Phong District, Khon Kaen Province [online]. 2001 [cited Aug 17, 2017]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/17 67.
Phupalee T, Apasritongsakul S, Yingyod W, Sangsu- wan T, Ammard L. Groceries development model with community involvement in Phon Sung Subdistrict, Sakon Nakhon. Food and Drug Journal 2014;21:56-63.57-63
Booddawong B, Yoongthong W. Community empowerment in the management of the problems on inappropriate drugs and health products: Case study of Nonkhun District, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 331-43.
Dokbua J, Kuntimong R, Puksahad H, Sunongbua N. The situation of drug distribution in the grocery store, Pathumratchawongsa District Amnatcharoen Province. Journal of Health Consumer Protection 2021; 1: 37-44.
Thanapas P. The model management of distributing health products in grocery stores Moo.2 Kampaeng pech Rattaphum, Songkhla. 12th Region Medical Journal 2018; 30: 46-52.
Patphol M. Research and development for innovative curriculum & instruction. Silpakorn Educational Research Journal 2020; 12: 1-16.
Chatakarn W. Action research. Suratthani Rajabhat Journal 2015; 2: 29-49.
Tayraukhum S. Research and development: method for research developing. Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat MahaSarakham University 2014; 1: 2-14.