แนวทางการพัฒนาร้านยาสู่มาตรฐานตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วาณี ธนสีลังกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาร้านยาสู่มาตรฐานตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (Good Pharmacy Practice: GPP) ในจังหวัดอุดรธานี และประเมินผลของการใช้แนวทางดังกล่าวต่อความสามารถในการปฏิบัติตาม GPP และความพึงพอใจของผู้ประกอบการสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันต่อแนวทางฯ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตัวอย่าง คือ ร้านขายยาแผนปัจจุบันทุกแห่งในจังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยใช้วงจรคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (plan) โดยศึกษาบริบทและผลการตรวจประเมิน GPP จัดอบรมโดยเชิญวิทยากรจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามาถ่ายทอดความรู้ และเปิดเวทีสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญโดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้ประกอบการสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันและพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์  จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเพื่อกำหนดแผนพัฒนา และวางแผนสร้างแนวทางฯ 2) การดำเนินการตามแนวทางฯ (do) และการตรวจประเมินร้านยาตามมาตรฐาน GPP 3) การตรวจสอบ (check) ผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวนแนวทางฯ และ 4) ปรับปรุงแนวทางฯ ตามปัญหาที่พบ (action) และนำมาดำเนินการเป็นวงจรต่อไป ผลการวิจัย: แนวทางฯประกอบด้วย 1) การประชาสัมพันธ์ให้ร้านยาทราบเกณฑ์ GPP และให้ร้านยาทำแบบประเมินตนเองประกอบการตรวจร้านยาตามเกณฑ์ GPP การประเมินความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดการร้านยาในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการเชิญชวนร้านยาเข้าร่วมโครงการนี้กับหน่วยงานรัฐ 2) การใช้ช่องทาง Line official เพื่อตอบข้อซักถามของผู้ประกอบการร้านยา และ 3) การสนับสนุนอุปกรณ์ เช่น คู่มือ GPP สติ๊กเกอร์ประกอบตามเกณฑ์ จากการใช้แนวทางฯ พบว่า ร้านยาทุกแห่งผ่านการประเมินตาม GPP ค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินมีดังนี้ หมวดที่ 1 สถานที่ (98.37±3.57) หมวดที่ 2 อุปกรณ์ (100±0.0) หมวดที่ 3 บุคลากร (98.36±4.29) หมวดที่ 4 การควบคุมคุณภาพยา (98.80±2.85) และหมวดที่ 5 วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (98.94±1.24) ผู้ประกอบการขายยาแผนปัจจุบันพึงพอใจต่อแนวทางฯ โดยรวมทุกด้านในระดับมากที่สุด (4.66±0.60 จากคะแนนเต็ม 5) สรุป: แนวทางฯที่พัฒนาขึ้นเน้นการเตรียมความพร้อมให้ร้านยาทราบเกณฑ์ GPP ข้อกฎหมายและข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับร้านยาผ่านช่องทางที่เข้าถึงง่าย ทำให้สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดสามารถปฏิบัติตาม GPP ได้ทุกแห่ง โดยไม่มีข้อใดได้รับการประเมินในระดับปรับปรุง แต่ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน พนักงานเจ้าหน้าที่ควรชี้แจงรายละเอียด ความสำคัญ และเจตนารมณ์ในการใช้แนวทางฯ แก่ผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบันในการพัฒนาสถานที่ อุปกรณ์ และส่งเสริมให้เกิดงานบริการทางเภสัชกรรมที่ดีในร้านยา การร่วมกันแก้ไขสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ต้องไม่เพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการมากนัก การดำเนินการนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ร้านยาในจังหวัดอุดรธานีเข้าเป็นหน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Drug Control, Food and Drug Adminis tration. Licenses for drug related business in 2021 [online]. 2021 [cited Jan 3, 2021].Available from: www. fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/Statistic/Licensee-20210531.pdf

Public Health Ministerial Rule in 2013 on license application and licensing of modern drug selling. Royal Gazette No.130, Part 126A (Dec 27, 2013).

Public Health Ministerial Declaration in 2014 on the requirement of premises instruments and good pharmacy practice in selling establishments of modern drugs according to the Drug Act. Royal Gazette No.131, Part 223D special (Nov 5, 2014).

Food and Drug Administration Declaration on rules procedures and conditions for passing the assess- ment according to the good pharmacy practice. Royal Gazette No.133, Part 123D special (May 27, 2016).

Public Health Ministerial Declaration in 2013 on Determine the duration of the licensee to sell modern drugs and who has the duty to perform must follow the Public Health Ministerial Rule in 2013 on license application and licensing of modern drug selling. Royal Gazette No.134, Part 215D special (Aug 31, 2017).

Thavornwattanayong W. Opportunity and develop ment of pharmacy business after novel coronavirus 2019 outbreak. Thai Bulletin Pharmaceutical Sciences 2020; 15: 95-107.

Sangwongdee P. Global crisis in the outbreak of emerging infectious diseases: The role of the World Health Organization, a situation in Thailand and a new normal. Journal of Social Synergy 2020; 11: 88-108.

Chariyasirisuk S, Saokaew S. Inspection of good pharmacy practice among modern drugstores in Kamphaengphet. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 173-84.

Srisa-ard B. Interpretation of results when using estimation scale data collection tools. Journal of Educational Measurement Mahasarakham Univer sity 2018; 2: 64-70.

Leauwong S. Driving the policy for improving the standard of drugstores in Udon Thani province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 38-48.

Chunon P, Sitthiworanan C. Situation and readiness of drug store entrepreneur on ministerial regulations for permission and pharmacy licensing 2013 in Nakhon Pathom. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 12: 54-69.

Tonpumipratet K, Vorapani T. The opinion and practice in 2013 announcement of good pharmacy practice in drug stores Tak Province. Thai Food and Drug Journal 2015; 22: 25-32.

Wientong P, Chinwong D, Chinwong S, Vachara chaisurapol P, Dutjanuthat A, Supakul S. Readiness among community pharmacists in Chiang Mai to comply with the Ministerial Declaration on licensing and requirements on premises, instruments and good pharmacy practice. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 92-101.

Wongphatthanawut S, Subhaso P. Attitude and practice and practice following the notification of the Ministry of Public Health on requirement of location, equipment and community pharmacy practices in the modern drug pharmacy under the medicines Act B.E. 2557 (2014) in Mukdahan province. Thai Food and Drug Journal 2017; 24: 15-27.

Intaket R. Success factors of drug entrepreneurs in complying with the announcement of the Ministry of Public Health prescribes about the place equipment and community pharmacy practices of modern pharmacy 2014, Muang District, Udon Thani Province. Research and Development Health System Journal 2019; 12: 733-6.